วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาเลี้ยงลูกกันเถ๊อะ ตอน แรกเกิด

     สวัสดีทุก ๆ คนค่ะ หลังจากที่เราดูแลตัวเองมาจนคลอด แล้วก็หมดกังวลเรื่องจะมีเซอร์ไพรส์ท้องอีกรอบ ด้วยการคุมกำเนิดแล้ว ทีนี้ ก็ได้เวลากลับจาก รพ มาเลี้ยงลูกน้อยด้วยตัวเองค่ะ จริง ๆ เรื่องการเลี้ยงลูกนี่เขียนยากมาก เพราะมันกว้างมาก แล้วก็ขึ้นอยู่กับบุคคลด้วย แม่ลูกแต่ละคู่จะมีสไตล์ชีวิตต่างกัน ความคิดต่างกัน การดูแลก็ต่างกัน จะถามแม่กุ๊กว่าใครเลี้ยงดี เลี้ยงไม่ดี อืม.... อันนี้จากประสบการณ์ตรง ตอนเป็นคุณแม่ครั้งแรก ก็ออกแนวเห่อว่างั้นเหอะค่ะ อ่านหนังสือ ศึกษาทุกเว็บบนเน็ต โอย ทุกอย่างก้าว อยากจะให้มันเป๊ะๆ ต้องทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้น วันนี้ลูกครบ 1 เดือน จะทำอย่างนี้ได้สิ ทำไมลูกชั้นทำไม่ได้ เครียดๆๆๆ คุยกับเพื่อนคนอื่นที่เป็นคุณแม่ เค้าทำอีกอย่าง ตายแล้ว ที่ชั้นทำไปถูกไม๊นี่ ลูกชั้นจะเป็นอะไรไม๊ โอว เป็นการเครียดสุด ๆ พอลูกคนที่สอง ผ่านอะไรมาเยอะ ไม่ค่อยเครียด เริ่มปล่อยวาง ปล่อยเค้าบ้างตามสไตล์ของเขา ไม่กินก็ไว้กินมื้อหน้า จะบอกว่าผลผลิตที่ได้มาดีกว่ามาก ลูกอารมณ์ดีกว่าป่วยน้อยกว่า เวลาป่วยพร้อมกันเจ้าตัวเล็กจะหายเร็วกว่า นี่แหละหนาที่โบราณเค้าว่าประคบประหงมเกิน ก็ไม่ดีนะจ๊ะ
       มาเข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ เหมือนเดิม ไปเสาะหาบทความดี ๆ มา อย่าเพิ่งว่าแม่กุ๊กช่างก็อปนะคะ แต่คนเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง จริงมะ เอาเป็นสไตล์เล่าประสบการณ์ ถนัดกว่าเยอะ (แก้ตัวไปเรื่อย เอิ๊กกกก)



วัยแรกเกิด (The Newborn)
                หมายถึงทารกที่คลอดใหม่จนถึง 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญมากของมนุษย์และเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจหรือไม่ไว้ใจในสภาพแวดล้อม การเจริญเติบโตในวัยทารกนี้มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตและการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจะกล่าวเรียงลำดับดังนี้
การเจริญเติบโตทางร่างกาย
น้ำหนัก (Weight) ด็กคลอดครบกำหนดจะมีน้ำหนักแรกเกิดของเด็กไทยเฉลี่ย 2500-3000 กรัม ในระยะ 2-3 วันแรกของชีวิตน้ำหนักจะลดลงได้ประมาณ 5-10 ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกได้อาหารน้อย มีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ และการหายใจ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ 3 วันไปแล้ว และจะขึ้นเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน ต่อไปน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3 เดือนแรกจะขึ้นประมาณวันละ 1 ออนซ์ หรือ 30 กรัม
Special senses
-                          Touch เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสโดยเฉพาะที่ปาก ลิ้น หู หน้าผาก เด็กแรกเกิดปกติจะ respond ต่อการอุ้ม ถ้าเด็กไม่งับหัวนมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาจมี brain damage
-                          Sight ตาจะเป็นสีน้ำเงินหรือเทา เมื่อแรกเกิดและจะเปลี่ยนเป็นสีปกติเมื่ออายุ 3-6 เดือน การเคลื่อนไหวของตาจะไม่สอดคล้องกัน ตาจะกลอกไปมาเป็นการยากที่จะทราบว่าเด็กมองเห็นหรือไม่ pupil จะreact ต่อแสงไม่ชอบแสงสว่างจ้าและยังไม่มีน้ำตาปรากฏชัดเจนกว่าอายุ 3-4 สัปดาห์ ถ้าตาเปิดได้ครึ่งเดียว บวม มีหนองไหลอาจเกิดการระคายเคืองจาก AgNO3 หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
-                          Hearing เด็กจะไม่ได้ยินจนกว่าจะร้องไห้ครั้งแรก การทดสอบว่าเด็กได้ยินหรือไม่กโดยการสั่นกระดิ่งถ้าเขาได้ยินจะมี activity เพิ่มขึ้น จะมีการเคลื่อนไหวแขนขา และตา ปกติจะ Respond ต่อเสียงประมาณอายุ 3-7 วัน
-                          Taste จะรู้รสได้เป็็นอย่างดี และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จะยอมรับอาหารเหลวรสหวาน จะไม่ยอมรับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือขม
-                          Smell จะได้กลิ่นนมแม่และหันเข้าหาหัวนม
Skin sensations
                เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัส, ความกดดัน, อุณหภูมิ, ความเจ็บปวด ได้ตั้งแต่แรกเกิด
-                          organic sensation เด็กทารกจะมีความรู้สึกต่อ ออร์แกนิค สติมูเลชั่น เช่น การหิวกระหายจะเป็นสาเหตุปกติที่ทำให้เด็กร้อง เด็กที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจจะมีการปวดท้องเนื่องจากมีลมในลำไส้มากได้
 การนอนหลับ
               
เมื่อแรกเกิดมีเวลาตื่นและเวลานอนไม่แน่นอน ร่างกายโดยเฉพาะสองต้องใช้เวลาในการปรับ ตัวและเรียนรู้ความแตกต่างของช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ใน 2 – 3 เดือนแรก เด็กจะตื่น
ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อดูดนมและมักนอนหลังอิ่ม มีช่วงเวลา ตื่นมาเล่นไม่กี่ชั่วโมง การนอนจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ เด็ก เด็กควรได้นอนอย่างมีความสุขและปลอดภัย โดยให้ นอนกางมุ้งในที่ที่อากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงรบกวน ที่นอน ต้องสะอาด เด็กตั้งแต่อายุประมาณ 4 เดือนเป็นต้นไป จะ ตอนกลางคืนนานขึ้น เด็กส่วนมากจะนอนยาวตลอดคืน โดย ไม่ตื่นกลางดึกเมื่ออายุ 9 เดือนถึง 1 ปี ความต้องการนอน ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันได้บ้าง โดยเฉลี่ยจะแบ่ง ตามช่วงอายุดังนี้ คือ
อายุ
เวลาหลับ (ชั่วโมง : วัน)
แรกเกิด ถึง 2 เดือน
16-18
2-10 เดือน
14-16
10-12 เดือน
14-16
ภูมิต้านทานโรค
-             แอนติบอดี้ ของโรคต่าง ๆ จะผ่านทารก ไปยังเด็กระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น ฝีดาษ, คางทูม, คอตีบ และหัด ถ้ามารดาเคยเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน ภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดานี้จะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือน เด็กแรกเกิดอาจเกิดโรคสุกใส และ ไอกรนได้ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคเพียงเล็กน้อย ในเด็กแรกเกิดจะเกิดการติดเชื้อลุกลามและมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
                เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นแบบประจำตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในพี่น้องท้องเดียวกันก็ยังมีนิสัยต่างกันไป การเจริญเติบโตทางจิตใจเป็นผลเนื่องมาจากการเลี้ยงดูอบรมเด็กได้รับจากบิดามารดาหรือสภาพแวดล้อม มารดาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเด็กทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตั้งแต่แรกเกินจนถึง 6 ขวบ จึงเป็นวัยที่อุปนิสัยใจคอเริ่มก่อตัวฝังแน่นอยู่ในใจของเด็ก เด็กต้องการความรักเท่า ๆ กับอาหาร เด็กเจ็บป่วยเพราะถูกทอดทิ้งก็มีมากบางคนป่วยเพราะต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากแม่ หรือเพราะแม่ให้ไม่เพียงพอ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ จะทำให้เราเห็นการสนองตอบที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเด็กก้าวจากวัยหนึ่งมาสู่วัยหนึ่ง การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ที่ปกติจะนำไปสู่ความเป็นผู้มีบุคลิกดี คือเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง เป็นผู้ใหญ่เพียงพอ รู้ตัวเมื่อทำอะไรผิดพลาด อยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข และเป็นตัวของตัวเอง
                อารมณ์ของทารกแรกเกิด มีอยู่ 2 ประเภท คือ อารมณ์ชื่นบาน และอารมณ์ไม่แจ่มใสหรืออารมณ์โกรธ โดยที่ทารกได้รับการเปลี่ยนท่านอนอย่างรวดเร็วไม่นุ่มนวลถูกจับตรึงไม่ให้ กระดุกกระดิก หรือได้ยินเสียงดัง ไม่ได้รับการอุ้มชู และการเจ็บป่วย ทารกจะร้องไห้ เมื่อทารกรู้จักชื่นบาน เมื่อได้รับการตอบสนองทางด้านความต้องการทางร่างกาย การสัมผัสอย่างนุ่มนวล การกอดรัด เห่ กล่อม และให้อาหาร ทารกจะมีอารมณ์ชื่นบานโดยแสดงสีหน้าอย่างมีความสุข


การให้อาหารทารก 
ควรให้ตามความต้องการของเด็ก ไม่ควรเข้มงวดเกินไป การอุ้มเด็กในขณะให้นมหรืออาหาร เป็นการให้ความรักและ เป็นการปกป้องที่ทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและพอใจ แต่การอุ้ม เด็กตลอดเวลาหรือการตามใจเด็กในเรื่องอื่นมากเกินไป อาจเป็นผลเสีย ทำให้เด็กตามใจตนเอง เรียกร้องจากผู้อื่น มากเกินไป ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตอบสนองความ ต้องการของทารกอย่างเหมาะสมและเด็กต้องได้รับการสอน ให้รู้จักรอคอยบ้าง


การให้นมและอาหารตามวัย 
1. การให้นม
เริ่มให้นมแม่ทันทีหลังคลอดภายในครึ่งชั่วโมง โดยให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือนเต็ม ขณะให้นมแม่ควรปฏิบัติดังนี้
 ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดรอบบริเวณเต้านม
 ส่งเสียงโต้ตอบหากลูกร้องหิวนม ให้ลูกรู้ว่ากำลังจะให้นม ในไม่ช้า
 อุ้มลูกในท่าที่สบายอยู่ในวงแขนแนบลำตัวให้ปากลูกอยู่ ในระดับพอกับกับ หัวนมแม่
 เปลี่ยนข้างให้นมหากน้ำนมไม่เพียงพอ
 อุ้มลูกพาดบ่าหลังให้นมเพื่อให้เรอ
2. การให้อาหาร
เริ่มให้อาหารอื่นที่ไม่ใช่นม ทารกจะได้เรียนรู้การกินอาหารชนิดใหม่ๆ และเป็นช่วงฝึก พัฒนา การกินที่ดีได้ตั้งแต่ระยะนี้ โดยประกอบอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของวัยและถูกหลัก โภชนาการ
อายุ
ลักษณะ ประเภทอาหาร
4 เดือน ขึ้นไป
ควรเริ่มให้ข้าวบดผสมน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่าย ประมาณ 1 ช้อนชา หรือ ในปริมาณที่ทารกจะรับได้ก่อน เมื่อทารกยอมรับและคุ้นเคยกับอาหารนี้ แล้วประมาณ 1 สัปดาห์ เพิ่มไข่แดงต้มสุกบดผสมกับข้าว และสลับกับกล้วย น้ำว้าสุกครูดเฉพาะเนื้อกล้วยในบางมือ
5  เดือน
เพิ่มเนื้อปลาต้มสุกบดสลับกับไข่แดงหรือตับ และควรใส่ผักใบเขียวต้มสุกบด สลับ กับฟักทอง มะเขือเทศ ผสมไปด้วยกัน
6  เดือน
ให้ทารกกินอาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับเดือนก่อน ๆ สลับกันไป และควรเริ่มหัด ให้กินผลไม้สุกนิ่มๆตามฤดูกาล เช่น ส้ม มะละกอ มะม่วง และควรฝึกให้ทารก กินอาหารเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น มื้อเช้า หรือมื้อกลางวัน
7  เดือน
ควรให้อาหารชนิดใหม่ๆ ทีข้นขึ้นและหยาบขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ สับเป็นชิ้น เล็กๆ ให้กินทั้งไข่แดงและไข่ขาวสลับกับอาหารอื่นๆ หลากหลายชนิด เป็น อาหารหลักได้ 1 มื้อ เพราะระยะนี้ทารกจะเริ่มมีฟันขึ้นและกระเพาะอาหาร สร้างน้ำย่อยได้แล้ว
8 -12 เดือน
ควรหาอาหารที่ไม่เหนียวหรือแข็งจนเกินไปให้ถือกินเองเช่น ฟักทองนึ่ง มันต้ม แตงกวา แครอทนึ่ง หรือผลไม้สุก เป็นอาหารว่าง จนกระทั่งกินได้ 2 มื้อ และ 3 มื้อ ตามลำดับ




การดูแลสุขภาพและสุขอนามัย ทารกแรกเกิดยังมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงต้องการสภาพแวดล้อมที่สะอาด
1. การทำความสะอาดร่างกาย
- เปลี่ยนผ้าอ้อมทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำเช็ดให้สะอาด หลังการขับถ่ายทุกครั้ง
- ควรอาบน้ำให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งตามเวลา เป็น ประจำ น้ำไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไป ขณะอาบน้ำควรพูด คุยให้เด็กรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
- ทำความสะอาดสะดือเด็กแรกเกิดประมาณ 1-2 สัปดาห์ จนกว่าสะดือจะหลุด โดยใช้สำลีเช็ดรอบๆสะดือให้แห้งแล้ว ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดขอบและก้นสะดือให้ทั่ว
- ทำความสะอาดตา หู และจมูก โดยใช้สำลีหรือผ้านุ่มที่ สะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดเบาๆ
- ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ
2. การดูแลช่องปากและฟัน
- ทำความสะอาดช่องปากให้เด็กทารกที่เริ่มกิน อาหารตามวัย และนมผสมเมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป โดยใช้ผ้าสะอาดพันรอบนิ้วชี้ ชุบน้ำต้มสุก เช็ด เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน ให้ทั่วทั้งปาก อย่า' น้อยวันละ 1 ครั้ง เวลาอาบน้ำให้เด็ก
3. การดูแลของใช้สำหรับเด็ก
- ควรแยกซักเสื้อผ้าของเด็ก โดยใช้ผงซักฟอกชนิดอ่อนหรือน้ำยาซักผ้าเด็ก
- ทำความสะอาดเบาะที่นอนเป็นประจำ เปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุกครั้งที่เด็กทำเปื้อน ซักให้ สะอาด และตากให้แห้ง
- ตรวจสอบของเล่นไม่ให้ชิ้นส่วนแตกหักเสียหาย ไม่มีส่วนแหลมคม หรือกระเทาะหลุด

4. การพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรค ต้องพาเด็กไปการตรวจสุขภาพและรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นระยะ ๆ ตามกำหนด


อายุ
การให้วัคซีนป้องกันโรค
แรกเกิด
-  วัคซีนบีซีจี  ป้องกันวัณโรค
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 1
2  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 1
-  โปลิโอ ครั้งที่ 1
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 2
4  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 2
-  โปลิโอ  ครั้งที่ 2
6  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 3
-  โปลิโอ ครั้งที่ 3
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 3
9 – 12 เดือน
หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1





5. การขับถ่ายของเด็กทารก 
ทารกแรกเกิดจะถ่ายปัสสาวะบ่อยประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อ วัน เนื่องจากรับประทานแต่นมแม่ ซึ่งมีปริมาณน้ำพอเพียง และย่อยง่าย การขับถ่ายอุจารระ ในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ระยะเดือนแรก จะวันละหลายครั้งและจะมีลักษณะเหลวกว่า ทารกที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่ ในบางรายอาจจะถ่ายอุจจาระ หลังดื่มนมเกือบทุกครั้งอาจถึง 6-8 ครั้งต่อวัน หลังจากเดือน แรกจำนวนครั้งของการถ่ายจะค่อยๆ ลดลง อายุ 3-4 เดือน อาจจะถ่ายอุจจาระวันละ 1-2 ครั้ง ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มักท้องไม่ผูก

เครดิตโดย 

(http://www.popcare.com/new%20born.htm)
http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_child/chap03/3_11_20.html


   มาโม้ต่อค่ะ ตอนมัทเทียลูกคนโต อยู่ รพ ดูเหมือนจะมีน้ำนมดี หมอคอนเฟิร์มว่าคุณแม่มีน้ำนมค่ะ ไม่ต้องกินนมเสริม กลับบ้านก็ให้ดื่มนมเราตลอด มัทเทียก็ร้องตลอดว่าหิว เราก็ว่าเด็กคนนี้รู้มาก กินไปตั้งเยอะ แบบว่าจับเวลาดูดอ่ะค่ะ หิวได้ไง เลยไม่ให้ดุด เค้าก็ร้องจนหลับไป คิดว่าเห็นไม๊เค้าอิ่มแล้วไง ไม่งั้นไม่มีทางหลับได้หรอก ผ่านไปสองวัน ลูกไข้ขึ้นสูง พาไป รพ ปรากฏว่าลูกขาดน้ำ นั่นหมายถึงว่านมแม่มีไม่พอ ร่างกายติดเชื้อ ต้องเข้ารับการรักษาด่วน นอน รพ กัน 7 วัน เหมือนตายทั้งเป็น ลูกโดนเจาะเลือดทุกวัน เส้นเลือดก็ยังไม่พองเพราะเพิ่งเกิด หาที่เจอะพรุนไปทั้งตัว แม่กุ๊กร้องไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด กว่าจะหายออกจาก รพ มาได้ พอลูกคนที่สอง เลยสังเกตุมากกว่าเดิม ชั่งน้ำหนัก ทุกวัน เพื่อดูว่ามีน้ำนมไม๊ เพราะท้องแรกไม่มีน้ำนม สุดท้ายก็ต้องให้นมชง เพราะ แม่ทนรอน้ำนมมาไม่ไหว กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แล้วอีกอย่างต้องดูแลคนโตที่ยังเดินไม่ได้ เพิ่ง 11 เดือน คนเล็กเพิ่งคลอดอีก แม่กุ๊กไม่ไหวจริงจริ๊งค่ะ   นี่เป็นประสบการณ์ที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคุณแม่ทุกคน จริง ๆ ค่ะ 



  ขอบคุณที่คอยติดตามผลงานนะคะ 


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การคุมกำเนิดหลังคลอด

การคุมกำเนิดหลังคลอด
       สวัสดีคร่าาาาา  ทุกคน ขอบคุณทุก ๆ วิว ที่เข้ามาเยี่ยมชมเลยนะคะ แม่กุ๊กห่างหายไปนานไม่ได้ทิ้งบล็อกไปไหนแต่ตั้งแต่เจ้าตัวโตเข้าเนอสเซอรี่ก็พากันป่วยงอมแงมทั้งคู่ เล่นเอาแม่กุ๊กเสียเซลฟ์ไปพักนึงเลยทีเดียว หน้าตาแม่ทรุดโทรมจากการอดหลับอดนอน พยาบาลลูกน้อย จนตอนนี้ต้องมาซ่อมเซลล์กันยกใหญ่ เข้าบล็อกมาแอบไปเช็คสถิติมานิสนึงค่ะนิสนึง โอวแม่เจ้า สถิติเราไม่เบานะนี่ ดีใจมากมายค่ะ ที่บทความเหล่านี้เป็นประโยชน์และเป็นที่น่าสนใจกับทุกคน
     เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้มีเรื่องราวแห่งความทรงจำ ที่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า มันคือเรื่องดีหรือไม่ดี ตอนเพิ่งเกิดแม่กุ๊กก็ว่ามันไม่ดีเลย แต่ ณ วันนี้แม่กุ๊กรู้สึกว่า ดีจังเลย เอาเป็นว่ามันคือปะสบการณืน่าตื่นเต้นละกันค่ะ นั่นก็คือ การท้องเจ้าตัวน้อยคนที่สอง มันก็ฟังดูว่าจะดี ทำไมแม่กุ๊กถึงสับสนน่ะเหรอคะ ก็แม่กุ๊กท้องทันทีหลังคลอดคนแรกได้แค่ 2 เดือน   เห็นไม๊ล่ะ ว่ามันทำให้สับสนได้น๊าาา ตอนท้องแรกได้มีโอกาสไปอบรมการคลอด กะบรรดาแม่ ๆ ฝรั่งแถวบ้าน คุณหมอย้ำๆๆๆๆจัง ว่าให้ระวังหลังคลอด เพราะมีโอกาสติดลูกง่ายมั่กมาก เราฟังแล้วก็ ชิ คงไม่ถึงเราร๊อก มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ขนาดน๊านนน ไงล่ะ ตัวเธอ อิอิ ก็เลย ชิลล์มาก ๆ จนเจ้ามัทเทียอายุได้ 5 เดือน เพื่อนมากินกาแฟที่บ้าน คุยกันตลก ๆ ว่า ท้องอีกเลยดีกว่า เลยนึกได้ว่าาเมนส์เราไม่มานี่นา แต่แอบคิดว่าคงปกติ หลังคลอด เมนส์กำลังปรับตัว เพื่อนบอกว่าลองตรวจสิไม่แน่น๊ามีเจ้าตัวน้อยมารออีกแล้วมั๊ง ก็ยังหัวเราะกัน มีที่ตรวจเหลืออยู่อันนึง ไปเอามาตรวจขำ ๆ กันดีกว่า เหมือนดารา ต้องแก้ข่าวด้วยการตรวจออกสื่อ อิอิ ก็เข้าไปตรวจ พอได้ผลตรวจจากอาการร่าเริงก็ซีด ย้ำ ซีดๆๆๆ ซีดไร้สติเจ้าค่า ท้องค่ะท้อง เป็นไปได้ไง แผลเรายังไม่ทันหายเลย (แอบเรทเอกซ์นิสนึง แผลฝีเย็บของแม่กุ๊กหายช้ามาก เจ็บแบบกางขาก็ยังไม่ค่อยจะได้ เรื่องอุ๊อิ๊งุงิ ลืมไปได้เลย แต่ก็มีบ้างลอง ๆ เพื่อดูว่าแผลหายยังก็ไม่สำเร็จ) เพื่อนปลอบใจว่าที่ตรวจพลาด เอางี้เดี๋ยวพรุ่งนี้เพื่อนจะมากินกาแฟอีกที แล้วซื้อที่ตรวจมาฝากด้วย คราวนี้เอาแบบดิจิตอล บอกได้ด้วยว่าท้องมานานเท่าไรแล้ว เอ๊า จัดไป ผลบอกเลยว่าท้องมา 3 เดือนแล้ว แม่เจ้า  ไม่เชื่อเฟ้ย มันพลาดได้ 0.01% เราอาจเป็นคนนั้น (พอถึงตอนนี้อยากเป็นคนส่วนน้อยขึ้นมาทันที 555) ไปตรวจเลือดดีกว่าต้องตรวจเลือด อ่ะจึ๊ยค่า hcg สูงปรี๊ดดด  ถึงตอนนี้คงใช่แล้วล่ะ ชิ ต้องรีบบอกคุณสามีจะได้มาช่วยกันเครียด เราไม่เอาเปรียบกันอยู่แล้นน  คุณสามีช็อค อึ้ง ๆๆๆ จากนั้นบรรยากาศในบ้านก็มาคุ เงียบมาก ๆ เป็นเวลา 1 อาทิตย์ คำถามมากมาย เราจะทำไงต่อไป จะเอาไว้ไม๊ จะบอกคนอื่นยังไงว่าเราท้องอีกแล้ว ที่ทำงานล่ะเค้าจะว่าเรามั๊ย  จะบอกว่าการท้องในลักษณะนี้ การบอกคนอื่นเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด อารมณ์เดียวกับท้องตอนเรียนไม่จบงั้นเลย คุยกันกะคุณสามีก็ไม่เข้าใจกัน จนสุดท้ายตัดสินใจ จิตเเพทย์ช่วยท่านได้ พากันไปทั้งคู่ ทำไมน่ะเหรอคะ เพราะจิตแพทย์นี่มีประโยชน์ต่อสถานบันครอบครัวนะตัวเธอ อย่าหลีเลี่ยง เค้าไม่ได้มาแก้ปัญหาให้เรา แต่เค้าทำให้เราได้คุยกันอย่างเปิดอก ถ้าคุยกันที่บ้านเดี๋ยวก็ขัดขากัน คุยต่อหน้าหมอ มีคนจัดคิว ประมาณกรมการห้ามมวย แล้วจิตเเพทย์ก็มีวิธีถามคำถามที่ทำใก้อีกฝ่ายฟังแล้วรู้ว่า อ่อ เค้าคิดอย่างนี้ สรุปว่า สามีกลัวว่าเราจะไม่ไหวเพราะอยู่ที่นี่ไกลบ้านจริงๆ -*- ไม่มีคนช่วย ส่วนเราเองก็กลัวว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นในอนาคตจะมาโทษว่าเราตัดสินใจคนเดียว ของงี้เกิดขึ้นได้นะคะคุณขา หลังจากเปิดใจกันก็เข้าใจกัน ตกลงเอาเจ้าตัวน้อย ๆ ไว้ แต่ไงเราก็เอาไว้อยู่เเล้ว เพียงแต่ไม่อยากให้เกิดปัญหาในอนาคต เห็นไม๊คะ ร่ายมาซะยาว ทีนี้เห็นความสำคัญของการคุมกำเนิดหลังคลอดกันรึยัง ถ้าเห็นแล้วไปอ่านกันเลย
การคุมกำเนิดหลังคลอด


          หากคุณกำลังมีลูกวัยแบเบาะ เซ็กซ์คงเป็นเรื่องสุดท้ายที่คุณคิดถึง แต่ก็ต้องระวังเอาไว้อยู่ดี เพราะคุณคงยังไม่อยากมีลูกตัวแดงๆ เพิ่มขึ้นมาอีกคนตอนนี้หรอกน่า
อย่ามองข้ามเรื่องการคุมกำเนิดหลังคลอดเด็ดขาด เพราะคุณไม่รู้ว่าอารมณ์พิสวาสจะพุ่งพรวดขึ้นมาตอนไหน และถ้าเกิดพลาดพลั้งจนถึงขั้นมีเจ้าตัวเล็ก (อีกคน)ขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจ อาจทำให้คุณช็อกสุดๆ เพราะคิดไม่ถึงว่าร่างกายของคุณจะพร้อมสำหรับการมีลูกได้รวดเร็วขนาดนี้  ขณะที่ผู้หญิงบางคนมีความเชื่อว่าตราบใดที่ยังให้ลูกกินนมแม่ จะสามารถคุมกำเนิดได้ เพราะการให้ลูกกินนมแม่  ทำให้มีการชะลอการตกไข่ของรังไข่ให้เนิ่นนานออกไป ราว 9 สัปดาห์หลังคลอด ไปจนถึง 18 เดือน   แต่ทฤษฎีดังกล่าวเชื่อถือได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีคุณแม่หลายรายที่เกิดตั้งครรภ์ระหว่างให้นมลูก หรือตั้งครรภ์ทั้งที่ประจำเดือนยังไม่กลับมาด้วยซ้ำ
ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากตั้งท้องอีกทั้งที่เพิ่งเบ่งคลอดลูกคนก่อนมาหยกๆ คุณอาจต้องเริ่มคิดถึงการคุมกำเนิดร่วมด้วย พูดคุยกับแพทย์ตอนไปตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ส่วนจะเลือกวิธีการใดนั้น คงไม่ต่างจากสมัยก่อนตั้งท้อง ทว่าผู้หญิง 30 % กลับพบว่าวิธีคุมกำเนิดที่เลือกสมัยก่อนตั้งท้องไม่เหมาะกับตัวเองอีกต่อไป และการคุมกำเนิดบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด อาจไม่เหมาะกับแม่ที่ให้นมลูก งั้นจะทราบได้อย่างไรว่าวิธีใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด M&B มีคำแนะนำมาให้คุณดังนี้...
The Mirena Coil
คืออะไร? เป็นห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine System (IUS)) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สอดเข้าไปในมดลูกของผู้หญิง โดยห่วงคุมกำเนิดดังกล่าวจะปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาและขัดขวางการเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูก ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถเจาะเข้าไปในเยื่อบุปากมดลูก นอกจากนี้ยังไปขัดขวางไม่ให้เชื้ออสุจิที่ได้รับการผสมแล้วเกาะติดผนังมดลูกได้
ดีอย่างไร? ถือเป็นทางเลือกใหม่ของการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจึงมีการรวมเอาข้อดีของฮอร์โมนคุมกำเนิดมารวมกับข้อดีของห่วงอนามัย ซึ่งมดลูกหลังคลอดสามารถรองรับอุปกรณ์ที่สอดเข้าไปได้โดยไม่สร้างความรู้สึกเจ็บปวด และการปล่อยฮอร์โมนเพียงเล็กน้อยออกมา ถือได้ว่ามีผลข้างเคียงน้อยมาก สามารถใช้ได้เป็นเวลาประมาณ 5 ปี และเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง 
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
คืออะไร? ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน มีทั้งแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยในแบบ 28 เม็ด จะเป็นเม็ดที่มีฮอร์โมน 21 เม็ด อีก 7 เม็ดเป็นเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมนกลไกการป้องกันการตั้งครรภ์คือยับยั้งไม่ให้เกิดไข่ตก เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะแก่การฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ส่งผลให้ตัวอสุจิผ่านได้ยาก ตัวอย่างของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีขายทั่วไป ได้แก่ Microgynon 30, Cileste  และ Marvelon
ดีอย่างไร? สะดวกและค่อนข้างมีประสิทธิภาพ  จัดเป็นทางเลือกที่ยืดหยุ่น เพราะถึงลืมกินยาก็ยังมีเวลาอีก 12 ชั่วโมงให้กินตามได้ แต่ปรากฏหลักฐานจากงานวิจัยหลายฉบับที่บ่งชี้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดปริมาณน้ำนมแม่ ดังนั้นแพทย์จึงมักจะเสนอทางเลือกอื่นจนกว่าคุณจะหย่านมลูก นอกเหนือจากนี้ยังอาจเกิดผลข้างเคียงเนื่องจากปริมาณฮอร์โมน เอสโตรเจนที่สูงเกินไป ได้แก่ คลื่นไส้, ปวดศีรษะ, เป็นฝ้า, ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปวดประจำเดือน, เจ็บคัดเต้านม และเส้นเลือดอุดตัน และผลจากปริมาณฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนที่สูงเกินไป ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม, เป็นสิว, หน้ามัน, เต้านมเล็ก และ ประจำเดือนมาน้อย
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Mini-pill
คืออะไร? เป็นยาเม็ดที่มีส่วนผสมโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวเท่ากันทุกเม็ด ไม่มีเอสโตรเจน กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ คือ ทำให้มูกที่มดลูกเหนียวข้น ตัวอสุจิผ่านยากเยื่อบุโพรงมดลูกบางและฝ่อ ไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน และยับยั้งการตกไข่ 
ดีอย่างไร? เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้หรือผู้ที่กำลังให้นมบุตรโดยสามารถเริ่มทานได้เลยหลังคลอด 21 วันและเห็นผลในทันที เริ่มทานยาแผงแรกในวันแรกของการมีประจำเดือน ทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกัน จนหมดแผง และทานต่อเนื่องแม้จะมีประจำเดือน ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย และเหมาะกับผู้ที่สูบบุหรี่หรืออายุเกิน 35 ปี
ยาฉีดคุมกำเนิด
คืออะไร? เป็นยาฉีดคุมกำเนิดที่ค่อยๆ ปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อยับยั้งการตกไข่ และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ไม่เหมาะสมต่อการเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิ
ดีอย่างไร? เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากทานยาทุกวัน เพราะฉีดครั้งหนึ่งสามารถคุมกำเนิดได้ 3 เดือน และไม่ส่งผลข้างเคียงแม้กำลังให้นมบุตร ข้อเสียคืออาจมีเลือดออกมากในตอนแรกแต่ไม่มีผลข้างเคียงอื่นๆ แต่อาจกินเวลานานเกือบ 8 เดือนกว่าจะกลับมาตั้งครรภ์ได้เหมือนเดิม ดังนั้นต้องคำนึงเรื่องนี้ด้วยเวลาวางแผนครอบครัว
ยาฝังคุมกำเนิด
คืออะไร? เป็นยาคุมกำเนิดชั่วคราวชนิดฝังคุมกำเนิด มีตัวยาเช่นเดียวกับยาฉีดคุมกำเนิด คือเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ มีลักษณะเป็นผงบรรจุในหลอดขนาดเล็กแล้วนำมาฝังใต้ผิวหนัง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะค่อยๆ กระจายเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อป้องกันไข่สุก และทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียว ส่งผลให้อสุจิผ่านได้ยากยิ่งขึ้น ยาฝังคุมกำเนิดสามารถคุมกำเนิดได้นานราว 1 – 5 ปี
ดีอย่างไร? สะดวกและมีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาในการฝังแค่ไม่กี่นาที (ต้องฉีดยาชาก่อน) สามารถคุมกำเนิดได้นาน 1-5 ปี ผลข้างเคียงน้อยมากเหมาะสำหรับผู้ที่ให้นมบุตร หรือต้องการหวนกลับไปมีเซ็กซ์หลังคลอดเร็วขึ้น เพราะสามารถเริ่มฝังได้ภายหลังคลอดไปแล้วราว 21 วัน
ถุงยางคุมกำเนิด
คืออะไร? เป็นเครื่องมือคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ถุงยางคุมกำเนิดสมัยนี้ ส่วนมากทำด้วยยางลาเท็กซ์ (Latex) ซึ่งมีคุณภาพดี  บางแต่ยืดหยุ่นได้มาก กลไกป้องกันการตั้งครรภ์คือป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด
ดีอย่างไร? ประสิทธิภาพเกือบ 100 % (ถ้าไม่แตกหรือรั่ว) และไม่มีผลข้างเคียงนอกจากในกรณีคุณแพ้ยางลาเท็กซ์ เหมาะกับสตรีที่ไม่อยากรับฮอร์โมนใดๆ เข้ามาในร่างกาย อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้  
คุณมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หรือไม่ตอนช่วงให้นมลูก?
ดร.ไมล์ ลีวี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ จาก Leicester Royal ตอบคำถามดังกล่าวว่า...“คำตอบสั้นๆ คือ ได้  เนื่องจากเวลาที่คุณให้นมลูก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคตินซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก ระดับโปรแลคตินจะสูงในขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตร และยับยั้งการหลั่งของ FSH (Follicle stimulating hormone) และ LH  (Luteinizing hormone) ซึ่งทำหน้าที่สร้างไข่และกระตุ้นให้ไข่ตก ทำให้การผลิตฮอร์โมนจากรังไข่ลดลงและไม่ตกไข่  ถ้าคุณให้นมลูกและยังไม่มีประจำเดือน โอกาสตั้งท้องถือว่าน้อยมาก แต่ไม่มีใครรับประกันได้ว่าคุณจะไม่ตั้งท้อง ดังนั้นควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นควบคู่ไปด้วย”
วิธีการคุมกำเนิด

1.งดการมีเพศสัมพันธ์ในระยะ ไม่ปลอดภัย
ระยะไม่ปลอดภัย
- วันที่ 9-17 ของรอบระดู เนื่องจากเป็นช่วงที่ ไข่ตก (ovulation)
- อุณหภูมิ ร่างกายสูงขึ้น 0.2 -0.4 องศา เซลเซียส
ระยะปลอดภัย มี 2 ช่วง
- 7 วัน ก่อนมีประจำเดือน
- 7 วัน หลังมีประจำเดือน

2. ห้ามไข่ตก ( hotmonal contraception )
เช่น การใช้ ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งเราจะพูดถึง ในลำดับต่อไป

3. ขัดขวางการผสม
เช่น การใช้ถุงยางอนามัย

4. ขัดขวางการเจริญของไข่ที่ถูกผสม เเล้ว
เช่น การใสห่วงอนามัย

5. การทำหมัน ( sterilization )

ซึ่ง มีทั้งการทำหมันหญิง


เเละ การทำหมันชาย นอกจากนี้ก็ยังอาจจะรวมไปถึง การหลั่งนอก ( coitus interruption )
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด เมื่อเรียงจาก น้อยไปมาก


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด
                    หลังจากที่เราแม่ ๆ ดูแลทั้งตัวเองและลูกน้อยในทางที่สมบูรณ์มากกก มา 9 เดือน พอหลังคลอด เราแม่ ๆ ก็คงรู้สึกกันแล้วว่า ร่างกายชั้นเป็นอะไรไปเนี่ยมันบวมพองป่องไปหมด ใครที่ดูแลตัวเองด้านอาหารการกินมาโดยตลอด จะเถียงแม่กุ๊กไม่ได้แหละคร่า ว่าหน้าท้อง นั่นคือปัญหา  นอกจากนี้เราคนไทยเรายังสนใจเรื่องการอยู่ไฟเพื่อสุขภาพ ตัวแม่กุ๊กอยู่อิตาลี่ เรื่องอยู่ไฟนี่ไปบอกใครเค้าก็หัวเราะ แต่เรื่องหน้าท้องแทบจับเข่าคุยกัน คุณแม่ที่นี่ส่วนใหญ่จะใช้เข็มขัดรัดหน้าท้อง คล้าย ๆ เสตย์บ้านเราน่ะคะ ใส่ยาวเลย  แล้วก็ออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอ  เลือกทานอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นมลูก เพื่อน ๆ คุณแม่ที่ไปเข้าคอร์สคุณแม่ด้วยกัน แค่สองสามเดือนให้หลัง ก็กลับมาเช๊งกะเด๊ะกันหมดแล้ว  ส่วนแม่กุ๊กนับไม่ได้ เพราะดั๊นท้องต่อเลย ก็เลยมาลดเอาหลังท้องสอง แต่จตะบอกว่าความคืบหน้าค่อนข้างน้อย น้ำหนักน่ะลด แต่หน้าท้องนี่สิคะ ยังไม่เท่าไหร่เลย ไม่อยากบอกว่าไม่มีเวลา เพราะแม่กุ๊กคิดว่าตัวเองไม่มีความตั้งใจพอมากกว่า ส่วนเรื่องอยู่ไฟนี่ลงทุนสั่งทางไกลจากเมืองไทยเลยนะคะ ที่นี่เลยค่ะ http://www.kumsamunpai.com/  ของเค้าโอเคมาก สามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบไม่ยากนักน่ะค่ะ แม่กุ๊กซื้อมาสำหรับ 1 เดือนแต่ทำได้แค่อาทิตย์เดียวค่ะ เพราะคุณสามีโดนเรียกตัวกลับไปทำงานด่วน ดังนั้นจึงไม่มีใครคอยดูลูกให้ ตอนกลางคืนแม่กุ๊กก็เหนื่อยซะจนไม่มีแรงจะพทำแล้วล่ะค่ะ ไล่มาซะยาว ไปแอบหาบทความดี ๆ มาให้คุณแม่ ๆ ทั้งหลายอ่านดีกว่า


                   การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังการคลอดลูก แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดลูกอีกด้วย คือคลอดทางช่องคลอด หรือ ผ่าตัดคลอดลูก และยังมีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ อีกที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการดังนี้

  • มีน้ำคาวปลาสีแดงสด และค่อยๆ จางลงในปลายสัปดาห์และจะหมดไปภายใน 3 สัปดาห์ หรืออาจจะมีกระปริบกระปรอยเล็กน้อยจนครบ 6 สัปดาห์ หากน้ำคาวปลายังเป็นสีแดงสดนานเกิน 1 สัปดาห์ควรให้แพทย์ตรวจอีกครั้ง
  • อาจมีการปวดมดลูกเป็นพักๆ เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อคืนสู่สภาพเดิมของมดลูก (เข้าอู่) จะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อให้นมลูก เนื่องจากเมื่อลูกดูดนมจะมีการสร้างสารออกซิโทซินเพิ่มมากขึ้นในเลือดของแม่ หากปวดมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้ปวดได้ อาการนี้จะหมดไปเองภายใน 4-7 วันหลังคลอด หากมีการปวดนานเกิน 7 วันควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดการติดเชื้อในมดลูกทำให้โพรงมดลูกอักเสบได้
  • ความเหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย
  • ปวดบริเวณเย็บฝีเย็บ ในช่วงพักฟื้น พยาบาลจะดูแผลฝีเย็บทุกวัน ให้คำแนะนำในการทำความสะอาดที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อ พยาบาลจะแนะนำให้ใส่ผ้าอนามัย และเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง ล้างทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์แนะนำ (แต่โดยปกติจะไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อ) เช็ดให้แห้งโดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และไม่ใช้มือจับฝีเย็บจนกว่าจะตัดไหม
  • เจ็บแผลหน้าท้อง (กรณีใช้วิธีผ่าตัดคลอดลูก)
  • เคลื่อนไหวร่างกายยังไม่สะดวก อาจจะรู้สึกลำบากและไม่คล่องตัว
  • ถ่ายปัสสาวะไม่สะดวก โดยเฉพาะวันแรก อาจจะท้องผูก
  • รู้สึกปวดเมื่อยทั้งตัว
  • เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะ 2 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากร่างกายจะขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย อาการนี้จะอยู่นานเป็นสัปดาห์เพื่อปรับร่างกายเข้าสู่สภาพปกติ ดังนั้นควรจะอาบน้ำบ่อยขึ้นเพื่อให้ร่างกายสดชื่น บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ ได้ แต่ถ้าไข้สูงเกิน 38 องศาควรปรึกษาแพทย์
  • เต้านมตึง อาจมีหัวนมแตกเป็นแผลกรณีที่ลูกดูดนมแรงเกินไป
  • อารมณ์แปรปรวน เดี่ยวเศร้าซึม เดี่ยวตื่นเต้น อ่อนไหวง่าย
  • มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นหรือบางรายอาจจะลดลง

อาการหลังคลอดที่ควรระวัง และต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน หากมีอาการเหล่านี้

  • มีเลือดออกมาทางช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง ควรรีบไปโรงพยาบาล และใช้น้ำแข็งวางบนหน้าท้องหรือมดลูกเพื่อให้เลือดออกมาน้อยลง
  • น้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ซึ่งปกติแล้วกลิ่นจะเหมือนเลือดประจำเดือน
  • มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกทางช่องคลอด ซึ่งปกติแล้วอาจจะมีเพียงลิ่มเลือดเล็กๆ ออกมาปนกับน้ำคาวปลา
  • น้ำคาวปลาไม่ไหล โดยเฉพาะใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย หรือปวดรำคาญในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด
  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเกิน 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะหลังคลอดวันแรก
  • เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจเกิดการอุดตันของลิ่มเลือดเล็กๆ ในปอด
  • การปวดบวมของขาและน่อง อาจเกิดจากมีหลอดเลือดอุดตันบริเวณนั้น
  • อาการปวด บวม ของเต้านมบางส่วน แม้ว่าอาการตึงคัดจะหายไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมบางส่วนทำให้เกิดการอักเสบของเต้านม
  • มีอาการบวมแดงของแผลผ่าตัด เป็นหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม
  • ปัสสาวะแล้วแสบหรือรู้สึกขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง และสีเข้มจัด
  • มีอาการซึมเศร้าเกิน 2-3 วัน และมีอารมณ์โกรธร่วมด้วย
เครดิตโดย 
http://www.babytrick.com/new-born-baby-tip/take-care-your-self-after-birth.html

การอยู่ไฟ


         ตั้งแต่ยุคโบราณนานมา ผู้เฒ่าผู้แก่มักให้หญิงที่เพิ่งคลอดอยู่ไฟและสืบทอดต่อกันมา ทุกวันนี้การอยู่ไฟหลังคลอดกลับมาเป็นที่นิยมของคุณแม่หลังคลอดอีกครั้งหนึ่ง เพราะช่วยให้คุณแม่หลังคลอดมีทรวดทรงองค์เอว ผิวพรรณหน้าตาสดใสเหมือนก่อนตั้งครรภ์

โรงพญาบาลกล้วยน้ำไท 1 เปิดประเด็น ม่ามี๊ ก็ผิวใสและเซ็กซี่ น็อตตี้ ได้ด้วยการอยู่ไฟ ให้กระจ่างชัดไปเลยว่าอยู่ไฟมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร โดยน.พ.ก้องศาสดิ์ ดีนิรันดร์ สูติ-นรีแพทย์ กล่าวว่าน้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 ก.ก. ผิวคล้ำขึ้น มีสีเข้มคาดที่กลางลำตัว หน้าท้องแตกลายเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสะสม หลังคลอดแล้วน้ำหนักจะลดลงทันทีประมาณ 5.5 ก.ก. แต่ยังคงมีน้ำหนักตัวหลงเหลืออยู่ จากนั้น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ มดลูกจะกลับมาเหมือนภาวะปกติร้อยละ 70 หรือเรียกกันว่า มดลูกเข้าอู่

แม้จะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันแต่ก็มีความรู้เรื่องการอยู่ไฟด้วย คุณหมอบอกว่าการประคบทำให้คลายเมื่อย คลายเครียดเพราะขณะอยู่ไฟไม่ได้เลี้ยงลูก อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดสูบฉีดดีขึ้นซึ่งเกิดจากความร้อนจากการอบตัวในกระโจมเหมือนอบเซาน่าในปัจจุบัน


ส่วนการขัดผิวเป็นการลอกเซลล์ผิวที่คล้ำออกแล้วเซลล์ผิวที่ใสและสะอาดที่สุดซึ่งอยู่ชั้นล่างก็จะโตเร็วขึ้นเมื่อมีการสูบฉีดเลือดที่ดี อีกทั้งช่วยให้น้ำคาวปลาออกหมดเร็ว การปัสสาวะและอุจจาระก็พลอยดีขึ้นไปด้วย


อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟมีข้อเสียเหมือนกัน

หากคลอดปกติทางช่องคลอดต้องรอให้แผลฝีเย็บละลายเสียก่อนซึ่งมักจะใช้เวลา 7-10 วัน แต่กรณีคลอดแบบผ่าตัดต้องรอให้แผลหายดีเสียก่อนสักประมาณ 45 วัน และคุณแม่ยังต้องคำนึงถึงโรคประจำตัวด้วย เช่น บางคนเป็นโรคเบาหวาน หากมีแผลที่เท้าและชาเท้าขณะนวดหรืออบไฟก็อาจไม่รู้ตัวและทำให้แผลลามขึ้นได้ ส่วนคนเป็นความดันก็ต้องระวังเพราะขณะนวดความดันจะเพิ่มขึ้น และคนที่เป็นโรคหัวใจก็ควรระวังด้วย
มาคุยกับแพทย์แผนไทยประยุกต์กันบ้าง น.ส.กมลมาสย์ หลวงแสน กล่าวถึงขั้นตอนการอยู่ไฟว่า

• ขั้นแรกคุณแม่ต้องดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพร แล้วอาบน้ำสมุนไพร สำหรับสมุนไพรที่ใช้อาบและอบตัวนั้น ประกอบด้วย ไพล ขมิ้นชันที่มีสรรพคุณแก้ฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อย ตะไคร้และมะกรูดช่วยระบบทางเดินหายใจและดับกลิ่นน้ำคาวปลา ผักบุ้งแดงช่วยบำรุงสายตา ใบมะขามและใบส้มป่อยช่วยบำรุงน้ำเหลือง นอกจากนั้นก็มีการบูร พิมเสน เกลือ ว่านน้ำ

• จากนั้นนวดประคบโดยใช้ลูกประคบซึ่งใช้สมุนไพรสดเหมือนกับสมุนไพรที่ใช้อาบน้ำ แล้วมาทับหม้อเกลือซึ่งมีว่านชักมดลูกและว่านนางคำช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นและขับน้ำคาวปลา ประกอบกับใช้หม้ออินทนนท์ซึ่งใส่เกลือตัวผู้เม็ดใหญ่ๆ ลงไปและอบในไมโครเวฟให้ร้อนแล้วใช้ใบพลับพลึงวางซ้อนกันก่อนวางหม้อบนหน้าท้องเป็นการขับน้ำคาวปลาและลดการเกร็งของหน้าท้อง

• หลังจากนั้น เป็นการนวดน้ำมัน ขัดผิวและอยู่กระโจมโดยเข้าไปอบตัวในกระโจม 10 นาที ออกมาพัก และเข้าไปใหม่ รวม 3 ครั้ง อาจทำทุกวันก็ได้เรื่อยไปจนกระทั่ง 1 เดือน


นอกจากนี้ ยังมีที่คาดไฟชุดหรือคาดไฟหลวง ประกอบด้วยกล่องอะลูมิเนียม แท่งยาซึ่งเป็นแท่งถ่านและผ้าคาดเอว จุดไฟครั้งหนึ่งก็จะร้อนนานประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยให้วางผ้าขนหนูรอบเอวเสียก่อนแล้วค่อยใส่ผ้าคาดเอวซึ่งจะทำวันละ 2-3 ครั้งก็ได้ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานบ้านหรือไม่ค่อยมีเวลา ไม่สะดวกในการอยู่กระโจมหรือประคบ


เหตุใดราคาคอร์สอยู่ไฟถึงแพงมาก บางคอร์สเกือบหมื่น บางคอร์สหลายหมื่น พยาบาลชวนพิศ ยงยิ่งยืน ไขข้อสงสัยว่าเป็นเพราะราคาสมุนไพรที่แพงตามฤดูกาลและหายาก และยังมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอด 5 ชั่วโมงของการอยู่ไฟต่อหนึ่งวัน อีกทั้งน้ำมันนวดราคาแพง


ส่วนคุณแม่ลูก 4 ที่มีประสบการณ์อยู่ไฟอย่างโชกโชน นางอัจรียา อีดี้ ยืนยันว่าการอยู่ไฟดีต่อสุขภาพคุณแม่หลังคลอด ช่วยให้คลายปวดเมื่อยและไม่เคยมีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาวเลย พร้อมทั้งเผยเคล็ดลับเพื่อช่วยให้คุณแม่กลับมาสดใสในเวลาเร็ววันว่ามีหลัก แขม่ว ขมิบ และเขย่ง โดยยกแขนขึ้นและลงพร้อมกับขมิบและเขย่งไปพร้อมกัน


ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างวิถีไทยและความรู้ด้านการแพทย์สมัยใหม่ช่วยให้คุณแม่ดูดีขึ้นได้อย่างใจในเวลาไม่นาน


วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การคลอด 2 เลือกวิธีการคลอด

  วิธีการคลอด
                  สมัยนี้อะไร ๆ ก็สะดวกสบาย จะคลอดลูกยังเลือกได้ อะไรจะวิเศษไปกว่านี้  สมัยก่อนน่ะเหรอ โหนผ้าที่ผูกขื่อบ้าน เจ็บก็ต้องทน เดี่ยวนี้มีทั้งยาช่วยระงับความเจ็บ มีทู๊กกอย่าง วันนี้แม่กุ๊กก็เลยไปหาวิธีคลอดลูกแบบต่าง ๆ มาให้ว่าที่คุณแม่ ๆ ทั้งหลาย ได้ศึกษาหาวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเองและทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเเพทย์นะคะ




วิธีการคลอดลูก

การคลอดในโรงพยาบาลมีข้อดีตรงที่เป็นศูนย์รวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัย คุณแม่มีทางเลือกมากมายใน การลดความเจ็บปวด และถ้าจำเป็นคุณแม่ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดคลอดได้ทันที พร้อมยังได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในกรณีฉุกเฉิน คุณแม่สามารถปรึกษาสูติแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการคลอดและการดูแลในขณะคลอดได้ตามที่คุณแม่ต้องการ และหากมีเรื่องใดที่คุณไม่แน่ใจว่าจะได้ผลจริงหรือไม่หรือสิ่งไหนที่คุณไม่ต้องการควรแจ้งให้แพทย์ได้ทราบเพื่อปรึกษาและหาทางเลือกที่เหมาะสมในการคลอด  และควรบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ในแผนการคลอดของคุณ นอกจากนี้ต้องแน่ใจว่าคนรักของคุณหรือคนคนที่จะเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนในห้องคลอดได้ทราบถึงการตัดสินใจนี้ด้วย


การคลอดธรรมชาติ

 สำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง การคลอดธรรมชาติ จะเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย สูติแพทย์จะตรวจดูช่วงใกล้ถึงกำหนดคลอดว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าศีรษะลงสู่เชิงกรานหรือไม่ การคลอดธรรมชาติ นั้น คุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์อย่างมากซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความอดทนให้มากที่สุดและพยายามอย่าใช้ยาเร่งคลอดควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะอาการเจ็บแสดงถึงการคลอดที่กำลังดำเนินต่อไป สูติแพทย์อาจฉีดยาแก้ปวดเข้าทางเส้นเลือดหรือการฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้คุณได้
 ** แอบบอกว่า วิธีระงับความเจ็บที่ดีที่สุด คือ ฝึกกำหนดลมหายใจค่ะ อันนี้แม่กุ๊กใช้มาแล้ว การสูดลมหายใจลึก ๆ แล้วค่อย ๆ ปล่อยออกมาจะทำให้รู้สึกเจ็บน้อยมาก แต่ต้องค่อย ๆ นะคะ ถ้าหายใจเร็วและแรงเกินไปทำให้เกิดอาการเหน็บชา เพราะออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ แล้วยังทำให้รู้สึกเหมือนจะตายอีกด้วย เข้าใจว่าวินาทีนั้น ไม่มีอารมณ์จะค่อย ๆ แต่เราต้องมีสติที่ดี ค่ะ เดี๋ยวนี้มีสอน
วิธีหายใจตามคอร์สเตรียมคลอดทั่วไป มีประโยชน์มากเลยนะคะ
















การผ่าตัดคลอด


คุณแม่บางท่านสูติแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดคลอดเนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว มีบุตรเมื่ออายุมาก หรือศีรษะทารกไม่หันสู่เชิงกรานเมื่อครบกำหนดคลอด หรือคุณแม่บางท่านเชื่อในดวงหรือเวลาเกิดจึงดูฤกษ์เพื่อทำการผ่าตัดคลอด ด้วยความเชื่อที่ว่าลูกน้อยจะแข็งแรงและมีความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต แต่การผ่าตัดคลอดจะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากกว่าการคลอดโดยธรรมชาติถึง 2 เท่า และจะเจ็บแผลนานกว่า แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น


ปัจจุบันเพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดได้อย่างได้ผล สูติแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างผ่าตัด แต่การดมยาสลบคุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่สามารถเห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอด เพราะจะหลับไม่รู้ตัวและฟื้นตัวอีกทีหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่จึงไม่เลือกวิธีนี้อีกทั้งยาสลบอาจมีผลต่อลูกได้ เช่น ลูกคลอดแล้วไม่ร้อง ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบเข้าไปด้วย ส่วนการฉีดยาเข้าไขสันหลังหรือบล็อกหลังนั้น ลูกน้อยไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดเพราะไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพียงแต่จะทำให้ส่วนล่างชาไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณแม่สามารถรับรู้ได้ทุกอย่างพร้อมทั้งได้ยินเสียงลูกและได้เห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอดออกมา ทั้งนี้ การผ่าตัดคลอด คุณแม่จะเจ็บแผลนานกว่าและมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ




การคลอดในน้ำ


การคลอดอีกวิธีหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศก็คือ การคลอดในน้ำ  เพราะช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดแต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากคุณแม่หลายท่านกังวลในความปลอดภัยทั้งของตนเองและลูกน้อย  อีกทั้งการคลอดด้วยวิธีนี้สุขภาพของคุณแม่ต้องแข็งแรงไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการคลอดในน้ำจะไม่ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจลูก  แต่จริง ๆ แล้ว การคลอดในน้ำ ก็ไม่น่ากังวลอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ หากคุณแม่มีความพร้อมและมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็พร้อมจะช่วยดูแลคุณอย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องให้ยาแก้ปวดหรือฉีดยาใด ๆ  และเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดของแม่แล้ว ก็สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำช่วยรองรับแรงกระแทก ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย รวมถึงคุณแม่เองก็จะรู้สึกเบาสบายไม่เจ็บอีกด้วย




นอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น คลอดไร้ความเจ็บ คลอดที่บ้านและอีกหลาย ๆ อย่าง แต่โดยทั่วไปแล้วหลัก ๆ ก็จะเลือกอยู่สามวิธีข้างต้น  วิธีการคลอดในน้ำนี่แม่กุ๊กอยากลองมาก แต่ตอนที่ท้อง รพ ที่มีวิธีนี้อยู่ไกลบ้าน เลยอด และไม่คิดจะคลอดอีกแล้วค่ะ สองคนพอแล้ว ใครมีโอกาสคลอดวิธีไหนมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ


*เครดิตโดย  http://www.n3k.in.th

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การคลอด 1

การคลอด
         บทความที่แล้วแม่กุ๊กเล่าไปซะเยอะ เรื่องประสบการณ์ตัวเอง อันที่จริงเทียบกับหลาย ๆ คนแล้ว ถือว่าแม่กุ๊กโชคดีมาก ๆ ในการคลอดลูก  เคยมีคนพูดไว้ว่า วันเกิดของลูกเปรียบเหมือนวันตายของแม่ แม่กุ๊กเคยคิดว่าโอเว่อร์ แต่สองครั้งจากประสบการณ์แม่กุ๊กเองก็เห็นว่าจริงอย่างที่สุด  วันนี้เลยชวนว่าที่คุณแม่ ๆ ทั้งหลายมาคุยเรื่องการคลอด
        สมัยโบราณการคลอดมีความเสี่ยงชนิด 50 : 50 กันเลยทีเดียว คนเฒ่าคนแก่บอกว่ามันขึ้นอยู่กับบุญกับกรรมที่ทำมาแต่ปางก่อน สมัยโลกไซเบอร์คุณแม่ไฮเทคอย่างเรา ๆ นี่ ความน่ากลัวมันลดน้อยลงไปเยอะ มีเทคโนโลยีมากมายที่คอยช่วยชีวิตของแม่และลูก  ดังนั้นไม่ต้องกลัวกันไปเกินเหตุนะคะ   ตอนแม่กุ๊กกลัวก็คิดในแง่บวกว่า เค้าคลอดกันทั้งโลก สมัยนี้ตายเพราะคลอดแทบไม่มีเลย ชิลล์ ๆ เป็นคุณแม่ต้องอารมณ์ดีและคิดบวกนะคร๊าาา
         แต่อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะถึงแม้จะมีคุณหมอและเทคโนโลยีคอยช่วยเหลือ แต่เราก็ไปหาคุณหมอแค่เดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น อีก 29 -30 วัน ที่เหลือก็คุณแม่และคนใกล้ชิดนะคะที่จะต้องดูแลเจ้าตัวน้อยๆ และตัวคุณแม่เองให้เเข็งเเรงนะจ๊ะ  จะได้พร้อมสำหรับการคลอด
         ไปหาบทความดี ๆ มาฝากจ้า 

          ก่อนอื่นต้องเริ่มตั้งต้นที่ความเข้าใจที่ว่า การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นความเสี่ยงของมารดาและบุตร ทุกการตั้งครรภ์แบ่งเป็นครรภ์เสี่ยงต่ำและครรภ์เสี่ยงสูง โดยครรภ์เสี่ยงต่ำสามารถเปลี่ยนเป็นครรภ์เสี่ยงสูงได้ตลอดเวลา การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่ร่างกายสตรีมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในด้านร่างกายและอารมณ์


ระยะแรกเมื่อมีการตั้งครรภ์ความเสี่ยงที่มี ได้แก่ การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีตัวเด็กหรือท้องลม การแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์แฝด อาการอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ปวดหน่วงท้อง ปวดบริเวณต้นขา ขาหนีบ และหลัง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ง่วงนอน คล้ายคนขี้เกียจ เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญ ในกรณีนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดลำดับแรก คือ คุณแม่ต้องตะหนักรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ การจดจำประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อจะทำให้การวินิจฉัยอายุของการตั้งครรภ์สามารถกำหนดได้อย่างแม่นยำจะทำให้การวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อคุณแม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ การเอาใจใส่และแจ้งให้ครอบครัวทราบเพื่อร่วมระมัดระวังในการดูแลครรภ์ ใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน การใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ น้ำหนักลด อาการผิดปกติที่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ได้แก่ ปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดออกจากช่องคลอด มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งข้อมูลการดูแลตนเองระหว่างการตั้งครรภ์นั้น คุณแม่สามารถสอบถามแพทย์ที่ดูแลครรภ์เมื่อเริ่มฝากครรภ์หรือจะศึกษาความรู้ด้วยตนเองก่อนโดยเมื่อสงสัยในข้อมูลใดแล้วจึงสอบถามแพทย์อีกครั้งก็ได้ โดยทั่วไปแนะนำให้คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ทันที เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อกระบวนการในการร่วมกันดูแลรักษาจะได้เริ่มตั้งแต่ต้น เพราะหากแพทย์วิเคราะห์พบว่ามีครรภ์เสี่ยงสูง จะได้แนะนำรายละเอียดการดูแลต่อไป ความเสี่ยงที่ในระยะนี้ที่พบ การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวเด็ก การแท้ง หากแพทย์สงสัยว่าจะมีความเสี่ยงเหล่านี้ จะอธิบายแนวทางการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในสมัยก่อน ภาวะเหล่านี้มักจะวินิจฉัยได้ล่าช้า มารดามักมาด้วยอาการของตกเลือดหรือสงสัยการแท้งก่อน คือ ปวดท้องน้อยมาก มีเลือดออกจากช่องคลอด หากมีเลือดออกมาก จะทำให้มารดาตกเลือดเสียชีวิตได้  ในกรณีครรภ์แฝด คุณแม่ส่วนใหญ่มักชอบที่ได้ตั้งครรภ์แฝด แต่ในความเป็นจริงเป็นครรภ์เสี่ยงสูงที่ในระยะแรกอาจพบ การแท้ง การเสียชีวิตของทารกในครรภ์คนใดคนหนึ่ง ภาวะแฝดติดกัน ซึ่งครรภ์แฝดเป็นภาวะที่แพทย์ผู้ดูแลต้องวิตกกังวลมากขึ้นตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด


เมื่อการตั้งครรภ์มีอายุครรภ์มากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แก่ การเจริญเติบโตช้าของทารกในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การมีเลือดออกจากช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งภาวะเหล่านี้ต้องอาศัยการเอาใจใส่ของคุณแม่และครอบครัว เนื่องจากส่วนใหญ่ของการดูแลครรภ์อยู่ที่บ้าน  การที่ผลการตั้งครรภ์จะดีจึงต้องได้รับความร่วมมือจากคุณแม่และครอบครัวในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สงสัยว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและรีบมาปรึกษาแพทย์ โรงพยาบาลบางแห่ง เช่น ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีสายด่วนคุณแม่ให้สามารถปรึกษาเรื่องครรภ์และการคลอดตลอด24 ชั่วโมงเพื่อเป็นการเพิ่มชั่วโมงในการให้คำปรึกษาและดูแลครรภ์ สำหรับการตรวจครรภ์ตามระยะนัดของการฝากครรภ์นั้น เป็นเพียงการคัดกรองความผิดปกติที่ตรวจพบขณะมาฝากครรภ์เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์คุณแม่ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่หลากหลายที่ยังไม่นับรวมความเสี่ยงของการคลอดที่สูงกว่าความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ เพราะหากมีการคลอดที่ผิดปกติ เนิ่นนาน ติดขัด ตกเลือดหลังคลอด มดลูกแตก ก็เป็นเหตุให้เกิดมารดาเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกันกับทารกอาจบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน


การตั้งครรภ์และการคลอดของคุณแม่จึงเปรียบเสมือนการออกสู่สนามรบที่มีความเสี่ยง การเกิดของลูกที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงและมารดาปลอดภัยเป็นความหวังของทั้งครอบครัวและแพทย์ผู้ดูแล หากลูกสักคนคิดจะฉลองวันเกิด ควรนึกถึงบุญคุณและความเสี่ยงของคุณแม่เสมอ เพราะวันเกิดของลูกนั้นเป็นวันเสี่ยงตายของคุณแม่

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จะรู้ได้ไงว่าไกล้คลอด (อาการเตือนก่อนคลอด)

          ประสบการณ์ใกล้คลอดท้องแรกค่อนข้างจะวุ่นวาย เพราะเจ้าพี่มัทเทีย หมอกำหนดคลอดประมาณสิ้นเดือนมิถุนายน แต่พอ 7 มิถุนายน 2010 แม่กุ๊กก็มีอาการเจ็บท้องคลอด รอ ร๊อ รอ จนเจ็บทุก 5 นาที ก็ไปโรงพยาบาล หมอก็เอาที่คาดมาวัดระดับการเจ็บถี่ ปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว ทุกอย่างเรียบร้อย นอน รพ เตรียมคลอดทันที (ว๊าว ๆ ถึงจะก่อนกำหนด แต่เราจะได้เห็นกันแล้วนะเจ้าลูกชาย)  จากนั้นก็นอนคาดเจ้าเครื่องวัดการบีบรัดมดลูกรอ ปากมดลูกเปิดครบ 10 ซม แล้วจะได้เข้าห้องคลอด จำได้ว่าเข้า รพ ตอน 23.00 วันที่ 7 มิย อยู่จนวันที่ 9 มิย ปากมดลูกเพิ่งเปิดได้ 3 ซม อาการที่เคยเจ็บถี่ก็หายไปซะเฉย ๆ หลังจากให้แม่กุ๊กทรมานมากว่า 2 วัน เพราะไม่ใช่เจ็บท้องที่ทรมาน แต่ปวดหลังนี่สุดยอด หมอบอกว่าเพราะกระดูกเชิงกรานกำลังเตรียมพร้อม โอว แม่เจ้า ทุกคอร์สที่แม่กุ๊กไปเรียนมาทั้งฟรีและเสียตัง (โยคะคุณแม่ตั้งครรภ์,คอร์สเตรียมคลอด) ช่วยอารายช๊ายไม่ได้เล๊ยยย  มันลืมหมดเลย T_T  แล้วในระหว่างวันเห็นคนอื่นเค้ามาแป๊บเดียวคลอดแล้ว เห็นเด็กมากมาย คิดน้อยใจว่าทำไมไม่คลอดซะทีน๊า จนวันที่ 9 มิย อาการเจ็บทั้งปวงก็หายไปหมด แต่เจ้ามัทเทียก็ยังดุ๊กดิ๊กอยู่ในท้องแม่ ถึงตอนนี้ร้องไห้หนักกว่าตอนเจ็บท้องกับปวดหลังอีก มันเหมือนเราหวังไว้ว่าจะได้กลับบ้านกับลูก และแล้วคุณหมอเลยบอกให้กลับบ้าน จากวันที่เก้า เราก็รอ รี๊อ รอ ไม่มีอาการอะไรอีกเลย จนตีสามวันที่ 29 มิย ปวดท้องคลอด เจ็บถี่ทันทีทุก 5 นาทีก็ยังไม่ไป รพ กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย  กว่าจะตัดสินใจไป ก็ ตีสี่ พอถึง รพ เจ็บทุกสองนาทีแล้ว เดินไปแผนกต้อนรับยังจะไม่ไหวเลย เดินสองก้าว หยุด อยู่อย่างนั้น รู้สึกว่ามันไกลแสนไกล พอ 7 โมงเช้า ปากมดลูกก็เปิด 10 ซม คราวนี้ล่ะคลอดแน่ 555 หมอก็เจาะน้ำคร่ำ ที่ห้องตรวจเลย แต่จากห้องตรวจไปห้องคลอดต้องเดินอีกประมาณ 1 1 กิโล หมอบอกว่าเดินเถอะนะ จะได้แรงโน้มถ่วงโลกช่วย เดี๋ยวจะได้เบ่งง่าย ๆ คอยดู ค่ะหมอ รับคำอย่างมีความหวัง ปรากฏว่าแต่ละก้าวช่างทรมาน กว่าจะถึงห้องคลอด แล้วหมอที่นี่ก็ใจเด็ด ไม่ช่วยเล้ย พยายามให้ทำเอง เข้าใจในความปรารถนาดี แต่มันดูไม่มีน้ำใจ ที่เดินนำเราไป แล้วหันกลับมาท้าวสะเอวมองเป็นระยะ ๆ ว่า หล่อน แค่นี้ทำไมเดินช้านักยะ (ถ้าถามมาละก็ แม่จะสวนให้ 555 คนมันกำลังเครียด) พอถึงห้องคลอด ก็เริ่มเบ่ง เราบอกว่ายังไม่มีลมเบ่งและไม่รู้สึกอยากเบ่ง เค้าก็พยายามให้เราเบ่งอยู่นั่นแหละ พอเบ่งมั่ว ๆ ก็ดุเอาอีก ก็คนบอกว่ายังไม่อยากเบ่ง เหมือนเราไม่ปวดอึ จะมาแกล้งปวดอึมันไม่ด๊ายย คุณหมอ จากนั้นก็เริ่มความกดดันเพื่อให้เราอยากเบ่งขึ้นเรื่อย ๆ จำได้ นังคุณพยาบาลคนหนึ่งตะโกนใส่หูมาว่า ไอ้ที่จะออกมาน่ะ มันหัวเด็กนะ ไม่ใช่เม็ดถั่ว เบ่งแค่นี้ เม็ดถั่วมันยังไม่ออกให้เลย โอ๊ย ได้ยินแล้วแค้น ไซโคซะอยากเบ่งเลย ตอนนั้นปวดขามาก ลืมเล่าไปว่าสองวันก่อนเจ็บท้องคลอดนี่ปวดขาแทบเดินไม่ได้เลย วางบนขาหยั่งก็ไม่ได้ ปวด พยาบาลก็ยึดขาเราไว้  จนในที่สุดเราก็รู้สึกว่าอยากเบ่ง ก็เริ่ิมเบ่ง มีลมเบ่งช่วยแล้วเล่งอยู่ สาม สี่ที เวลา 8.09 ก็คลอดค่ะ เจอเจ้ามัทเทีย น่าร๊ากกมากก มาแต่เกิด พอลูกคลอด ความเจ็บทั้งมวลก็หายไป เหมือนไม่ได้เกิดอะไรขึ้น จิง ๆ นะ มีแต่ความสุขเข้ามาแทนที่ ตอนเจ็บท้องแอบคิดว่า เราจะรักลูกได้ยังไงทำให้เราเจ็บขนาดนี้ จะเอาชีวิตไม่รอด แต่พอเห็นหน้าก็รู้ว่า แม่นี่เหมือนปลาแซลมอน พอมีลูกก็ตาย ปลาแซลม่อนน่ะมันตายจริง แต่เเม่คนน่ะ เหมือนไม่มีอะไรเป็นของตัวเองอีกแล้ว ยกทั้งชีวิตให้ลูกหมดเลย   เล่ามาซะยาว ทำให้คนหวั่นไหว กลัวการคลอดเองไปบ้างรึป่าวนีา อย่ากลัวเลยค่ะ แต่ละคนไม่เหมือนกัน นี่แค่ ประสบการณ์ลูกคนแรกนะ เเวะไปหาสาระกันก่อน เดี๋ยวมาเล่าคนที่สองให้ฟังจนท้ายบทความนะจ๊ะ


 

อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด


อาการคนท้องใกล้คลอดหรือสัญญาณเตือนใกล้คลอดนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันค่ะ ที่ อาการคนท้องใกล้คลอด ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจถึง สัญญาณเตือนใกล้คลอด ที่มาเป็นระยะ ๆ เพราะอันที่จริงแล้วยังคงมีการเข้าใจผิวที่ว่า อาการคนท้องใกล้คลอด นั้นจะมาในครั้งเดียวอย่างต่อเนื่องแต่อันที่จริงนั้นอาการคนท้องใกล้คลอดจะมาเป็นระยะต่างหากค่ะ วันนี้เราจึงนำข้อมูลอาการคนท้องใกล้คลอดและสัญญาณเตือนใกล้คลอดมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เรื่องคลอดของคุณแม่เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ



อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ


การเจ็บท้องคลอดเป็นกระบวนการของร่างกาย โดยมดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกของคุณแม่จะเปิดขยายเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนผ่านออกมาสู่โลกภายนอก ระยะที่ 1 จะประกอบด้วยระยะย่อย ๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วนระยะที่ 2 ของการคลอดเป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่ 3 จะเป็นระยะคลอดทารก



ระยะที่ 1


การคลอดระยะที่ 1 อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือในบางกรณีอาจยาวนานเป็นวัน ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรตกใจเมื่อเริ่มเจ็บท้องในช่วงเริ่มต้น

- ความรู้สึกในช่วงต้นของการเจ็บท้องคลอด


สำหรับคุณแม่หลายท่านอาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอดก็คือ ความรู้สึกปวดหน่วง ๆ คล้ายกับการปวดท้องเวลามีประจำเดือน นอกจากนี้คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือรู้สึกปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย คุณแม่บางท่านอาจท้องเสียรู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารเบา ๆ แทน เช่น ซุป ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง และดื่มน้ำมาก ๆ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าความรู้สึกไม่สบายตัวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มเจ็บท้องคลอด แต่เมื่ออาการเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการปวดรุนแรงเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอหรือที่เรียกว่า การหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ก็จะทราบว่า กำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว


- มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด


ในช่วงที่คุณแม่อุ้มท้องอยู่นั้นที่บริเวณคอมดลูกจะมีมูกอุดกั้นอยู่ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้น มูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำหรือเรียกกันว่ามีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นของการคลอดเสมอไป ดังนั้น อย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอดบางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้


- น้ำเดิน


" น้ำเดิน " ที่พูดถึงนี้ที่จริงแล้วก็คือน้ำคร่ำซึ่งคอยรองรับลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายคุณพร้อมจะคลอดลูกแล้วถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำก็จะไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่บางท่านบอกว่าได้ยินเสียง "โพละ" เบา ๆ  ด้วยซ้ำเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และคุณแม่บางท่านอาจจะมีน้ำไหลออกมาเพียงเล็กน้อยแต่บางท่านก็ไหลออกมามาก หากคุณแม่มีน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด คุณแม่จึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดหรือมีเพศสัมพันธ์หรือลงแช่น้ำอุ่น
หากน้ำคร่ำเดินแล้วคุณแม่ควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันทีเพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง


- การเจ็บท้องคลอด


การเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์ หากคุณแม่เข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้วคุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้นท นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติแล้วในช่วงเริ่มต้นมดลูกจะหดรัดตัวทุก ๆ 10 นาที โดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้วมดลูกก็จะหดรัดตัวทุก ๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเพราะคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป (โดยปกติแล้วคุณหมอจะแนะนำให้ไป ร พ เมื่อมีการบีบรัดตัวของมดลูกทุก 10 นาที แต่ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางจากบ้านไป รพ ด้วยนะคะ)


- การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี

หากคุณแม่ทราบก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเวลาไหนบ้าง อาจจะช่วยให้คุณผ่อนคลายมากขึ้นและรู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ต่างๆได้ ดังนั้น ลองดูคำแนะนำเหล่านี้ที่จะช่วยให้คุณแม่วางแผนล่วงหน้าได้

ค้นหาข้อมูลและคำแนะนำ

• ถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ควรเข้ารับการอบรมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะการอบรมนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อ ช่วยในการเตรียมตัว รวมทั้งยังเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลืออีกแหล่งหนึ่งด้วย เพราะฉะนั้น ควรเข้ารับการอบรมประเภทนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลบางแห่งอาจไม่ได้จัดการอบรมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรสอบถามสูติแพทย์ผู้ดูแลครรภ์หรือสอบถามทางโรงพยาบาลเกี่ยวกับเรื่องนี้

• มีหนังสือและวิดีโอจำนวนมากที่ให้ความรู้และคำแนะนำที่สามารถช่วยให้คุณแม่ผ่านช่วงเวลาการเจ็บท้องคลอดและการคลอดไปได้ด้วยดี และหากคุณแม่ได้เข้ารับการอบรมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่อาจขอให้วิทยากรช่วยแนะนำหนังสือหรือวิดีโอที่ดีๆ ก็ได้

• นอกจากนี้ คุณหมอที่ดูแลคุณแม่ก็สามารถให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทั้งยังยินดีตอบคำถามคุณแม่เกี่ยวกับการเจ็บท้องคลอดและการคลอดอีกด้วย


ทำใจให้สบาย

• การผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจจะช่วยให้คุณแม่เข้าสู่ท่วงทำนองของการคลอดได้อย่างกลมกลืน

• ความรู้สึกผ่อนคลายจะทำให้กล้ามเนื้อของคุณแม่ยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดในช่วงเจ็บท้องคลอดได้ดีกว่า ในขณะที่ถ้าคุณแม่เครียดและกดดัน กล้ามเนื้อจะยิ่งเกร็ง

• เมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย คุณแม่จะสามารถหายใจเข้า-ออกลึกๆ และทำให้ลูกน้อยผ่อนคลายไปด้วยเพราะได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่


สังเกตและดูแลร่างกายของคุณ

• แรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยเสริมแรงคุณแม่ในการเบ่งคลอดทารกออกมา ดังนั้น หากเป็นไปได้ ท่าที่เหมาะสมในการเบ่งคลอดก็คือท่าในแนวตั้ง ซึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นท่ายืนเสมอไป อาจเป็นการนั่งยองๆ นั่งคุกเข่า หรือนั่งแล้วโน้มตัวลงบนลูกบอลขนาดใหญ่ก็ได้ ที่สำคัญ คุณแม่ควรพยายามเคลื่อนไหวอยู่เสมอ

• อันที่จริงแล้ว ไม่มีท่าคลอดท่าไหนที่ถือว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับทุกคน คุณแม่จะเลือกทำท่าไหนก็ได้ที่รู้สึกว่าดีที่สุดสำหรับตัวคุณแม่เอง บางครั้ง อาจจะลองย้ายสะโพกไปมาหรือเดินขึ้นลงบันไดเตี้ยๆ หรือ อาจจะทำท่าคุกเข่าและใช้สองมือยันพื้นไว้ หรือจะนั่งคุกเข่าและโน้มตัวลงบนตั้งหมอนสูงๆ ก็ได้

• การร้องครวญครางหรือส่งเสียงออกมาอาจช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงเจ็บท้องคลอด ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเก็บกดเอาไว้ อย่าเขินอายไปเลย ลองนึกถึงนักเทนนิสเก่งๆ

• เข้าไว้ พวกเขาไม่เคยกลัวที่จะปลดปล่อยความเครียดไปกับเสียงตะโกนดังๆ หรือเสียงร้องไห้คร่ำครวญทั้งๆ ที่อยู่ต่อหน้าผู้ชมนับล้านๆ

หาวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น

• มีวิธีการลดความเจ็บปวดได้มากมายหลายวิธี ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งยาเสมอไป คุณแม่อาจผ่อนคลายความปวดด้วยการแช่น้ำอุ่นหรืออาบน้ำอุ่นจากฝักบัว เพราะ น้ำอุ่นๆ จะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อยลง

• หากต้องการคลายเครียด คุณแม่อาจลงแช่ในสระน้ำอุ่นและลอยตัวในน้ำอย่างผ่อนคลาย

• สัมผัสอันอ่อนโยนก็ช่วยลดความปวดได้อย่างวิเศษ คุณแม่อาจขอให้เพื่อนในขณะคลอดช่วยโอบกอดไว้หรือลูบหลังหรือแขนในช่วงมดลูกบีบรัดตัว หากคุณแม่รู้สึกปวดหลังส่วนล่าง อาจขอให้เขาหรือเธอช่วยนวดเบาๆ ก็ได้

ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

• มีข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่า คุณแม่ที่มีเพื่อนในขณะคลอดคอยให้กำลังใจ มักจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหรือการแทรกแซงในระหว่างการคลอด

• นอกจากนี้ คุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือหรือบอกความต้องการกับคุณหมอหรือพยาบาลห้องคลอดได้ หากคุณแม่รู้สึกกังวลใจขณะเจ็บท้องคลอดหรือมีอะไรไม่แน่ใจ ขอให้สอบถามคุณหมอทันที อย่าลืมว่าคุณหมอและพยาบาลห้องคลอดมีหน้าที่ที่จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและเกิดความมั่นใจเสมอ

 

ระยะที่ 2


ระยะที่ 2 ของการคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดกว้างออกถึง 10 เซนติเมตร และจะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา หากท้องนี้เป็นท้องแรก ระยะที่สองอาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แต่หากไม่ใช่ท้องแรกก็จะใช้เวลาสั้นกว่านั้นมากบางครั้งเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น

การเบ่งคลอดโดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด ซึ่งเวลานั้นคุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้ เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอดคุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้น ๆ ตื้น ๆ คล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความอ่อนโยนพอสมควรเพื่อไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป จากนั้นเมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมาคุณหมอจะสำรวจทารก ตัดสายสะดือ และห่อหุ้มลูกน้อยด้วยผ้านุ่ม ๆ ก่อนจะส่งให้คุณแม่อุ้ม "ยินดีด้วยนะคะลูกของคุณแม่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว"


ระยะที่ 3


ฟังดูอาจเป็นเรื่องแปลกที่การคลอดยังไม่สิ้นสุดลง หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้วนั่นก็เพราะคุณแม่ยังต้องรอคลอดรกก่อน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะอยู่กับคุณแม่เพื่อดูแลการคลอดระยะที่ 3 นี้ จนสิ้นสุดการคลอดทารกคุณหมออาจเสนอการฉีดยาเพื่อช่วยเร่งการคลอดทารกให้เร็วขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการคลอดระยะที่ 3 นี้จะใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แต่หากคุณแม่ต้องการจะคลอดทารกเองตามธรรมชาติก็อาจใช้เวลานานกว่านั้นซึ่งอาจนานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกเริ่มต้นบีบรัดตัวใหม่ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับระยะที่ 2 จากนั้นทารกที่หลุดลอกแล้วก็จะดันผ่านปากมดลูกที่เปิดกว้างอยู่ออกมาทางช่องคลอด เมื่อทารกคลอดออกมาหมดแล้วคุณหมอจะนำทารกไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ารกลอกตัวออกหมดแล้ว และจะกดบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกเริ่มหดรัดตัวลงแล้ว


การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด หากคุณแม่ได้โอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่ได้เลยทันทีเพราะจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก 
http://www.n3k.in.th และ ดูเม็กซ์ ค่ะ
     

         ทีนี้เรามาเข้าสู่ประสบการณ์เจ็บท้องคลอดท้องที่สองกันนะคะ   ตอนท้องสองก็มีกำหนดคลอดเหมือนเจ้าพี่มัทเทีย คือ สิ้นเดือนมิถุนายน พอวัน 8 มิถุนายน 2011 ตื่นเช้ามาก็รู้สึกอาเจียน และ ถ่ายท้อง ทั้งวัน คิดว่าคงเป็นไข้ลงลำใส้ ตามปกติ  18.00 ก็ไปหาหมอประจำตัว คุณหมอบอกว่า อันนี้ไม่ใช่ไข้หวัดลงลำไส้หรอก แต่เป็น อาการเตือนคลอดอย่างหนึ่ง ให้กลับไปพักผ่อนที่บ้าน รอการเจ็บถี่ อาจจะคลอดหรือไม่คลอดก็ได้ เป็นคล้าย ๆ อาการเจ็บเตือน  แต่เเม่กุ๊กไม่เจ็บท้องนะ  พอกลับมาจากหมอถึงบ้านตอนทุ่มนึง เริ่มเจ็บเตือนทุก 15 นาที พอ 3 ทุ่ม ทุก 5 นาที ก็ยังไม่ไป รพ ไม่อยากไป กลัวซ้ำรอยเดิม แม่สามีบอก ไปเถอะ ไปเสียเที่ยวก็ช่าง ดีกว่าคลอดเองอยู่ที่บ้าน ก็เลยไปอย่างอ้อยอิ่ง ถึง รพ ก็เหมือนเดิม คาดเข็มขัดวัดการบีบมดลูก โอเค ทุกอย่างเรียบร้อย พยาบาลบอกว่าอยู่ รพ เตรียมคลอดเลยนะคะ ในใจคิดคราวนี้คงคลอดนะ จากนั้นก็ค่อย ๆ เจ็บถี่ขึ้นเป็นทุกสองนาที แอบดีใจ ของจริง ๆ  แต่พอเจ็บทุกสองนาทีจากนั้น ก็อาเจียน ความเจ็บก็หายไปประมาณ ครึ่ง - 1 ชม ถึงจะเริ่มเจ็บใหม่ วนอยู่อย่างนี้ ไม่อาเจียนก็ถ่ายท้อง ทานอะไรไปก็ออกหมด ไม่มีแรง จนเที่ยงวันที่ 9 มิ ย หมอตัดสินใจให้น้ำเกลือเร่งคลอด จากนั้นการคลอดก็เป็นไปตามขั้นตอน ที่อยู่ในบทความข้างต้น แต่ปัญหามันอยู่ที่เเม่กุ๊กไม่ได้ทานอะไรเลยมาเกือบสองวัน ความเจ็บน่ะ มันก็รุนแรงพอรับไหวถ้ามีกำลัง แต่ไม่มีกำลังอย่างนี้ มันเหมือนคนนอนใกล้ตายที่สติจะหลุดลอยไป สามีก็คอยเรียกให้สู้ เดี่ยวจะได้เห็นหน้าลูก จนคุณหมอถามว่ารู้สึกอยากเบ่งรึยังคะ (อย่างน้อยรอบนี้ก็ได้เจอทีมทำคลอดที่ดีมาก ใจเย็นและอ่อนโยน ไม่ไซโคหนักเหมือนคราวที่แล้ว) เราก็บอกว่าอยากเบ่งแล้วแต่ ไม่มีแรง หมอก็เลยเอาน้ำตาลซองน้อย ๆ มาให้คุณสามีช่วยกรอกปากให้เรา แล้วก็ได้น้ำตาลซองน้ัน ที่ช่วยให้เบ่งลูกคนที่สองออกมาเวลา 15.48 น สวัสดีค่ะ น้องสาวคนสวย อารีอันนา ^____^





Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More