วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาเลี้ยงลูกกันเถ๊อะ ตอน แรกเกิด

     สวัสดีทุก ๆ คนค่ะ หลังจากที่เราดูแลตัวเองมาจนคลอด แล้วก็หมดกังวลเรื่องจะมีเซอร์ไพรส์ท้องอีกรอบ ด้วยการคุมกำเนิดแล้ว ทีนี้ ก็ได้เวลากลับจาก รพ มาเลี้ยงลูกน้อยด้วยตัวเองค่ะ จริง ๆ เรื่องการเลี้ยงลูกนี่เขียนยากมาก เพราะมันกว้างมาก แล้วก็ขึ้นอยู่กับบุคคลด้วย แม่ลูกแต่ละคู่จะมีสไตล์ชีวิตต่างกัน ความคิดต่างกัน การดูแลก็ต่างกัน จะถามแม่กุ๊กว่าใครเลี้ยงดี เลี้ยงไม่ดี อืม.... อันนี้จากประสบการณ์ตรง ตอนเป็นคุณแม่ครั้งแรก ก็ออกแนวเห่อว่างั้นเหอะค่ะ อ่านหนังสือ ศึกษาทุกเว็บบนเน็ต โอย ทุกอย่างก้าว อยากจะให้มันเป๊ะๆ ต้องทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้น วันนี้ลูกครบ 1 เดือน จะทำอย่างนี้ได้สิ ทำไมลูกชั้นทำไม่ได้ เครียดๆๆๆ คุยกับเพื่อนคนอื่นที่เป็นคุณแม่ เค้าทำอีกอย่าง ตายแล้ว ที่ชั้นทำไปถูกไม๊นี่ ลูกชั้นจะเป็นอะไรไม๊ โอว เป็นการเครียดสุด ๆ พอลูกคนที่สอง ผ่านอะไรมาเยอะ ไม่ค่อยเครียด เริ่มปล่อยวาง ปล่อยเค้าบ้างตามสไตล์ของเขา ไม่กินก็ไว้กินมื้อหน้า จะบอกว่าผลผลิตที่ได้มาดีกว่ามาก ลูกอารมณ์ดีกว่าป่วยน้อยกว่า เวลาป่วยพร้อมกันเจ้าตัวเล็กจะหายเร็วกว่า นี่แหละหนาที่โบราณเค้าว่าประคบประหงมเกิน ก็ไม่ดีนะจ๊ะ
       มาเข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ เหมือนเดิม ไปเสาะหาบทความดี ๆ มา อย่าเพิ่งว่าแม่กุ๊กช่างก็อปนะคะ แต่คนเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง จริงมะ เอาเป็นสไตล์เล่าประสบการณ์ ถนัดกว่าเยอะ (แก้ตัวไปเรื่อย เอิ๊กกกก)



วัยแรกเกิด (The Newborn)
                หมายถึงทารกที่คลอดใหม่จนถึง 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญมากของมนุษย์และเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจหรือไม่ไว้ใจในสภาพแวดล้อม การเจริญเติบโตในวัยทารกนี้มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตและการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจะกล่าวเรียงลำดับดังนี้
การเจริญเติบโตทางร่างกาย
น้ำหนัก (Weight) ด็กคลอดครบกำหนดจะมีน้ำหนักแรกเกิดของเด็กไทยเฉลี่ย 2500-3000 กรัม ในระยะ 2-3 วันแรกของชีวิตน้ำหนักจะลดลงได้ประมาณ 5-10 ของน้ำหนักตัวแรกเกิด ทั้งนี้เนื่องจากทารกได้อาหารน้อย มีการเสียน้ำออกจากร่างกายมากทั้งทางอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ และการหายใจ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ 3 วันไปแล้ว และจะขึ้นเท่าน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 7-10 วัน ต่อไปน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3 เดือนแรกจะขึ้นประมาณวันละ 1 ออนซ์ หรือ 30 กรัม
Special senses
-                          Touch เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสโดยเฉพาะที่ปาก ลิ้น หู หน้าผาก เด็กแรกเกิดปกติจะ respond ต่อการอุ้ม ถ้าเด็กไม่งับหัวนมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาจมี brain damage
-                          Sight ตาจะเป็นสีน้ำเงินหรือเทา เมื่อแรกเกิดและจะเปลี่ยนเป็นสีปกติเมื่ออายุ 3-6 เดือน การเคลื่อนไหวของตาจะไม่สอดคล้องกัน ตาจะกลอกไปมาเป็นการยากที่จะทราบว่าเด็กมองเห็นหรือไม่ pupil จะreact ต่อแสงไม่ชอบแสงสว่างจ้าและยังไม่มีน้ำตาปรากฏชัดเจนกว่าอายุ 3-4 สัปดาห์ ถ้าตาเปิดได้ครึ่งเดียว บวม มีหนองไหลอาจเกิดการระคายเคืองจาก AgNO3 หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
-                          Hearing เด็กจะไม่ได้ยินจนกว่าจะร้องไห้ครั้งแรก การทดสอบว่าเด็กได้ยินหรือไม่กโดยการสั่นกระดิ่งถ้าเขาได้ยินจะมี activity เพิ่มขึ้น จะมีการเคลื่อนไหวแขนขา และตา ปกติจะ Respond ต่อเสียงประมาณอายุ 3-7 วัน
-                          Taste จะรู้รสได้เป็็นอย่างดี และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จะยอมรับอาหารเหลวรสหวาน จะไม่ยอมรับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือขม
-                          Smell จะได้กลิ่นนมแม่และหันเข้าหาหัวนม
Skin sensations
                เด็กจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัส, ความกดดัน, อุณหภูมิ, ความเจ็บปวด ได้ตั้งแต่แรกเกิด
-                          organic sensation เด็กทารกจะมีความรู้สึกต่อ ออร์แกนิค สติมูเลชั่น เช่น การหิวกระหายจะเป็นสาเหตุปกติที่ทำให้เด็กร้อง เด็กที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจจะมีการปวดท้องเนื่องจากมีลมในลำไส้มากได้
 การนอนหลับ
               
เมื่อแรกเกิดมีเวลาตื่นและเวลานอนไม่แน่นอน ร่างกายโดยเฉพาะสองต้องใช้เวลาในการปรับ ตัวและเรียนรู้ความแตกต่างของช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ใน 2 – 3 เดือนแรก เด็กจะตื่น
ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อดูดนมและมักนอนหลังอิ่ม มีช่วงเวลา ตื่นมาเล่นไม่กี่ชั่วโมง การนอนจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ เด็ก เด็กควรได้นอนอย่างมีความสุขและปลอดภัย โดยให้ นอนกางมุ้งในที่ที่อากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงรบกวน ที่นอน ต้องสะอาด เด็กตั้งแต่อายุประมาณ 4 เดือนเป็นต้นไป จะ ตอนกลางคืนนานขึ้น เด็กส่วนมากจะนอนยาวตลอดคืน โดย ไม่ตื่นกลางดึกเมื่ออายุ 9 เดือนถึง 1 ปี ความต้องการนอน ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันได้บ้าง โดยเฉลี่ยจะแบ่ง ตามช่วงอายุดังนี้ คือ
อายุ
เวลาหลับ (ชั่วโมง : วัน)
แรกเกิด ถึง 2 เดือน
16-18
2-10 เดือน
14-16
10-12 เดือน
14-16
ภูมิต้านทานโรค
-             แอนติบอดี้ ของโรคต่าง ๆ จะผ่านทารก ไปยังเด็กระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น ฝีดาษ, คางทูม, คอตีบ และหัด ถ้ามารดาเคยเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน ภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดานี้จะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือน เด็กแรกเกิดอาจเกิดโรคสุกใส และ ไอกรนได้ เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคเพียงเล็กน้อย ในเด็กแรกเกิดจะเกิดการติดเชื้อลุกลามและมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
                เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นแบบประจำตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในพี่น้องท้องเดียวกันก็ยังมีนิสัยต่างกันไป การเจริญเติบโตทางจิตใจเป็นผลเนื่องมาจากการเลี้ยงดูอบรมเด็กได้รับจากบิดามารดาหรือสภาพแวดล้อม มารดาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเด็กทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กตั้งแต่แรกเกินจนถึง 6 ขวบ จึงเป็นวัยที่อุปนิสัยใจคอเริ่มก่อตัวฝังแน่นอยู่ในใจของเด็ก เด็กต้องการความรักเท่า ๆ กับอาหาร เด็กเจ็บป่วยเพราะถูกทอดทิ้งก็มีมากบางคนป่วยเพราะต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากแม่ หรือเพราะแม่ให้ไม่เพียงพอ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ จะทำให้เราเห็นการสนองตอบที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเด็กก้าวจากวัยหนึ่งมาสู่วัยหนึ่ง การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ที่ปกติจะนำไปสู่ความเป็นผู้มีบุคลิกดี คือเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง เป็นผู้ใหญ่เพียงพอ รู้ตัวเมื่อทำอะไรผิดพลาด อยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข และเป็นตัวของตัวเอง
                อารมณ์ของทารกแรกเกิด มีอยู่ 2 ประเภท คือ อารมณ์ชื่นบาน และอารมณ์ไม่แจ่มใสหรืออารมณ์โกรธ โดยที่ทารกได้รับการเปลี่ยนท่านอนอย่างรวดเร็วไม่นุ่มนวลถูกจับตรึงไม่ให้ กระดุกกระดิก หรือได้ยินเสียงดัง ไม่ได้รับการอุ้มชู และการเจ็บป่วย ทารกจะร้องไห้ เมื่อทารกรู้จักชื่นบาน เมื่อได้รับการตอบสนองทางด้านความต้องการทางร่างกาย การสัมผัสอย่างนุ่มนวล การกอดรัด เห่ กล่อม และให้อาหาร ทารกจะมีอารมณ์ชื่นบานโดยแสดงสีหน้าอย่างมีความสุข


การให้อาหารทารก 
ควรให้ตามความต้องการของเด็ก ไม่ควรเข้มงวดเกินไป การอุ้มเด็กในขณะให้นมหรืออาหาร เป็นการให้ความรักและ เป็นการปกป้องที่ทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและพอใจ แต่การอุ้ม เด็กตลอดเวลาหรือการตามใจเด็กในเรื่องอื่นมากเกินไป อาจเป็นผลเสีย ทำให้เด็กตามใจตนเอง เรียกร้องจากผู้อื่น มากเกินไป ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตอบสนองความ ต้องการของทารกอย่างเหมาะสมและเด็กต้องได้รับการสอน ให้รู้จักรอคอยบ้าง


การให้นมและอาหารตามวัย 
1. การให้นม
เริ่มให้นมแม่ทันทีหลังคลอดภายในครึ่งชั่วโมง โดยให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือนเต็ม ขณะให้นมแม่ควรปฏิบัติดังนี้
 ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดรอบบริเวณเต้านม
 ส่งเสียงโต้ตอบหากลูกร้องหิวนม ให้ลูกรู้ว่ากำลังจะให้นม ในไม่ช้า
 อุ้มลูกในท่าที่สบายอยู่ในวงแขนแนบลำตัวให้ปากลูกอยู่ ในระดับพอกับกับ หัวนมแม่
 เปลี่ยนข้างให้นมหากน้ำนมไม่เพียงพอ
 อุ้มลูกพาดบ่าหลังให้นมเพื่อให้เรอ
2. การให้อาหาร
เริ่มให้อาหารอื่นที่ไม่ใช่นม ทารกจะได้เรียนรู้การกินอาหารชนิดใหม่ๆ และเป็นช่วงฝึก พัฒนา การกินที่ดีได้ตั้งแต่ระยะนี้ โดยประกอบอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของวัยและถูกหลัก โภชนาการ
อายุ
ลักษณะ ประเภทอาหาร
4 เดือน ขึ้นไป
ควรเริ่มให้ข้าวบดผสมน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่าย ประมาณ 1 ช้อนชา หรือ ในปริมาณที่ทารกจะรับได้ก่อน เมื่อทารกยอมรับและคุ้นเคยกับอาหารนี้ แล้วประมาณ 1 สัปดาห์ เพิ่มไข่แดงต้มสุกบดผสมกับข้าว และสลับกับกล้วย น้ำว้าสุกครูดเฉพาะเนื้อกล้วยในบางมือ
5  เดือน
เพิ่มเนื้อปลาต้มสุกบดสลับกับไข่แดงหรือตับ และควรใส่ผักใบเขียวต้มสุกบด สลับ กับฟักทอง มะเขือเทศ ผสมไปด้วยกัน
6  เดือน
ให้ทารกกินอาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับเดือนก่อน ๆ สลับกันไป และควรเริ่มหัด ให้กินผลไม้สุกนิ่มๆตามฤดูกาล เช่น ส้ม มะละกอ มะม่วง และควรฝึกให้ทารก กินอาหารเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น มื้อเช้า หรือมื้อกลางวัน
7  เดือน
ควรให้อาหารชนิดใหม่ๆ ทีข้นขึ้นและหยาบขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ สับเป็นชิ้น เล็กๆ ให้กินทั้งไข่แดงและไข่ขาวสลับกับอาหารอื่นๆ หลากหลายชนิด เป็น อาหารหลักได้ 1 มื้อ เพราะระยะนี้ทารกจะเริ่มมีฟันขึ้นและกระเพาะอาหาร สร้างน้ำย่อยได้แล้ว
8 -12 เดือน
ควรหาอาหารที่ไม่เหนียวหรือแข็งจนเกินไปให้ถือกินเองเช่น ฟักทองนึ่ง มันต้ม แตงกวา แครอทนึ่ง หรือผลไม้สุก เป็นอาหารว่าง จนกระทั่งกินได้ 2 มื้อ และ 3 มื้อ ตามลำดับ




การดูแลสุขภาพและสุขอนามัย ทารกแรกเกิดยังมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงต้องการสภาพแวดล้อมที่สะอาด
1. การทำความสะอาดร่างกาย
- เปลี่ยนผ้าอ้อมทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำเช็ดให้สะอาด หลังการขับถ่ายทุกครั้ง
- ควรอาบน้ำให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งตามเวลา เป็น ประจำ น้ำไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไป ขณะอาบน้ำควรพูด คุยให้เด็กรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
- ทำความสะอาดสะดือเด็กแรกเกิดประมาณ 1-2 สัปดาห์ จนกว่าสะดือจะหลุด โดยใช้สำลีเช็ดรอบๆสะดือให้แห้งแล้ว ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดขอบและก้นสะดือให้ทั่ว
- ทำความสะอาดตา หู และจมูก โดยใช้สำลีหรือผ้านุ่มที่ สะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดเบาๆ
- ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ
2. การดูแลช่องปากและฟัน
- ทำความสะอาดช่องปากให้เด็กทารกที่เริ่มกิน อาหารตามวัย และนมผสมเมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป โดยใช้ผ้าสะอาดพันรอบนิ้วชี้ ชุบน้ำต้มสุก เช็ด เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดาน ให้ทั่วทั้งปาก อย่า' น้อยวันละ 1 ครั้ง เวลาอาบน้ำให้เด็ก
3. การดูแลของใช้สำหรับเด็ก
- ควรแยกซักเสื้อผ้าของเด็ก โดยใช้ผงซักฟอกชนิดอ่อนหรือน้ำยาซักผ้าเด็ก
- ทำความสะอาดเบาะที่นอนเป็นประจำ เปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุกครั้งที่เด็กทำเปื้อน ซักให้ สะอาด และตากให้แห้ง
- ตรวจสอบของเล่นไม่ให้ชิ้นส่วนแตกหักเสียหาย ไม่มีส่วนแหลมคม หรือกระเทาะหลุด

4. การพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรค ต้องพาเด็กไปการตรวจสุขภาพและรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นระยะ ๆ ตามกำหนด


อายุ
การให้วัคซีนป้องกันโรค
แรกเกิด
-  วัคซีนบีซีจี  ป้องกันวัณโรค
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 1
2  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 1
-  โปลิโอ ครั้งที่ 1
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 2
4  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 2
-  โปลิโอ  ครั้งที่ 2
6  เดือน
-  คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 3
-  โปลิโอ ครั้งที่ 3
-  ตับอักเสบบี ครั้งที่ 3
9 – 12 เดือน
หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1





5. การขับถ่ายของเด็กทารก 
ทารกแรกเกิดจะถ่ายปัสสาวะบ่อยประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อ วัน เนื่องจากรับประทานแต่นมแม่ ซึ่งมีปริมาณน้ำพอเพียง และย่อยง่าย การขับถ่ายอุจารระ ในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ระยะเดือนแรก จะวันละหลายครั้งและจะมีลักษณะเหลวกว่า ทารกที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมแม่ ในบางรายอาจจะถ่ายอุจจาระ หลังดื่มนมเกือบทุกครั้งอาจถึง 6-8 ครั้งต่อวัน หลังจากเดือน แรกจำนวนครั้งของการถ่ายจะค่อยๆ ลดลง อายุ 3-4 เดือน อาจจะถ่ายอุจจาระวันละ 1-2 ครั้ง ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มักท้องไม่ผูก

เครดิตโดย 

(http://www.popcare.com/new%20born.htm)
http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_child/chap03/3_11_20.html


   มาโม้ต่อค่ะ ตอนมัทเทียลูกคนโต อยู่ รพ ดูเหมือนจะมีน้ำนมดี หมอคอนเฟิร์มว่าคุณแม่มีน้ำนมค่ะ ไม่ต้องกินนมเสริม กลับบ้านก็ให้ดื่มนมเราตลอด มัทเทียก็ร้องตลอดว่าหิว เราก็ว่าเด็กคนนี้รู้มาก กินไปตั้งเยอะ แบบว่าจับเวลาดูดอ่ะค่ะ หิวได้ไง เลยไม่ให้ดุด เค้าก็ร้องจนหลับไป คิดว่าเห็นไม๊เค้าอิ่มแล้วไง ไม่งั้นไม่มีทางหลับได้หรอก ผ่านไปสองวัน ลูกไข้ขึ้นสูง พาไป รพ ปรากฏว่าลูกขาดน้ำ นั่นหมายถึงว่านมแม่มีไม่พอ ร่างกายติดเชื้อ ต้องเข้ารับการรักษาด่วน นอน รพ กัน 7 วัน เหมือนตายทั้งเป็น ลูกโดนเจาะเลือดทุกวัน เส้นเลือดก็ยังไม่พองเพราะเพิ่งเกิด หาที่เจอะพรุนไปทั้งตัว แม่กุ๊กร้องไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด กว่าจะหายออกจาก รพ มาได้ พอลูกคนที่สอง เลยสังเกตุมากกว่าเดิม ชั่งน้ำหนัก ทุกวัน เพื่อดูว่ามีน้ำนมไม๊ เพราะท้องแรกไม่มีน้ำนม สุดท้ายก็ต้องให้นมชง เพราะ แม่ทนรอน้ำนมมาไม่ไหว กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แล้วอีกอย่างต้องดูแลคนโตที่ยังเดินไม่ได้ เพิ่ง 11 เดือน คนเล็กเพิ่งคลอดอีก แม่กุ๊กไม่ไหวจริงจริ๊งค่ะ   นี่เป็นประสบการณ์ที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคุณแม่ทุกคน จริง ๆ ค่ะ 



  ขอบคุณที่คอยติดตามผลงานนะคะ 


Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More